Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์, ราชโคตร์-
dc.contributor.authorRachakot, Kriangsak-
dc.date.accessioned2018-07-17T07:56:33Z-
dc.date.available2018-07-17T07:56:33Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1014-
dc.description.abstractนักศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อก่ีพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม การศึกษาล้วนแต่มีกลไกที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ถ้านักศึกษาสายช่างอุตสาหกรรมขาดความเข้าใจและไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จะเป็นอุปสาาคในการพัฒนาประเทศอย่างมาก การพัฒนาการศึกษาจึงถือเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาศักยภาพของคนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเรื่องการศึกษาเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับประเทศ ถ้ามีการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพจะกลายเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้มากมายตามมาในอนาคต ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ของนักศึกษาในโรงเรียนเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางชีวสังคมที่แตกต่างกันของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาท 4 กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา และลักษณะทางจิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาในโรงเรียนเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพตอนต้น และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2544 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 332 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ได้สร้างขึ้นจำนวน 6 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ (Correlation Coeffcient) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางชีวสังคมของนักศึกษากับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพตอนต้นมีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างจากนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการศึกษาของมารดามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาท 4 กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน พบว่าอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ศึกษาลักษณะทางจิต ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จะเห็นได้ว่าลักษณะทางชีวสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ดังนั้นลักษณะทางจิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานด้วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectอิทธิบาท 4,การปฏิบัติงาน,โรงเรียนเอกชน,ช่างอุตสาหกรรม,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleอิทธิบาท 4 และลักษณะทางจิตที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาในโรงเรียนเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe 4 Paths of Accomplishment and Psychosocial Characteristics Affecting the Work Behaviors of the Industrial Technological Students in the Private Schools Located in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก519.89 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ34.44 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ173.47 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ35.9 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ622.88 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.39 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.17 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.7 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.75 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.34 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.63 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.