Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1068
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทรวิภา, อ่อนพึ่ง-
dc.contributor.authorOnphueng, Chantaravipa-
dc.date.accessioned2018-09-25T08:56:52Z-
dc.date.available2018-09-25T08:56:52Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1068-
dc.description.abstractกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศ จึงมีประชาชนเดินทางเข้าออกในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมารวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม การให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อให้มีความเข้าใจและมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นช่วงวัยสำคัญที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิต ได้แก่ เจตคติต่อการอนุรักษ์ และความเชื่ออำนาจในตนกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย จำแนกตามลักษณะชีวสังคม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ การได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำแนกตามลักษณะชีวสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 375 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม รวม 5 ตอน มีข้อมูลปัจจัยทางจิต ได้แก่ เจตคติต่อการอนุรักษ์ ความเชื่ออำนาจในตน และปัจจัยทางสังคม ได้แก่ เพศ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว การได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson' s Product - Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยในกลุ่มรวมพบว่า เจตคติต่อการอนุรักษ์ ความเชื่ออำนาจในตน การได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในกลุ่มย่อย คือ เพศชายและหญิง รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่ำและสูง พบว่า เจตคติต่อการอนุรักษ์ ความเชื่ออำนาจในตน การได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเฉพาะกลุ่มรายได้เฉลี่ยของครอบครัวสูง พบว่า เจตคติต่อการอนุรักษ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มอื่น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนา การฝึกอบรม หลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนต่อไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม,ประถมศึกษา,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe Environmental conservation behavior of Prathomsuksa 6 Students under the Jurisdiction of the office of Bangkok Metropolitan Primary Educationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก725.13 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ432.73 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.86 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ407.29 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.96 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 14.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 228.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.67 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.49 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 54.73 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม7.75 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.