Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1078
Title: ความคิดเห็นของทหารกองประจำการต่อการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
Other Titles: The opinions of Active Soldiers in Armies Towards The Attendance of the Non-Formal Education Project
Authors: ธวัชชัย, ทับทิมสงวน
Thabthimsanguan, Thawatchai
Keywords: ความคิดเห็น
ทหาร
การศึกษานอกระบบ
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2002
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความคิดเห็นของทหารกองประจำการที่มีต่อการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียน โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในด้านอายุ พื้นฐานการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพก่อนเข้ารับราชการทหาร ฐานะทางครอบครัว และสภาพครอบครัวกับความคิดเห็นต่อการเข้ารับการศึกษา และศึกษาข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของทหารกองประจำการที่มีต่อการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในหน่วยทหาร การดำเนินการวิจัย ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นของทหารกองประจำการ ในสังกัดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของทหารกองประจำการ ตอนที่ 2 เกี่ยวกับความคิดเห็นในการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยปรับปรุงมาจากแบบสอบถามของ ลัดดา มะลิทอง เฉลิม ศรีวิฑูรย์ อุไรรัตน์ จันดี และริชเทอร์ (Richter) แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ เหตุผลในการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียนด้านเหตุผลส่วนตัว ด้านอาชีพ และ ด้านสังคม รวม 30 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์ อัลฟ่า (Coefficient Alpha) ของครอนบัค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.9125 ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อแสดงข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของทหารกองประจำการ ที่มีต่อการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในหน่วยทหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาโดยไค-สแควร์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นของทหารกองประจำการ ที่มีต่อการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียน ด้านเหตุผลส่วนตัว มีความคิดเห็นว่าความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เหตุผลด้านอาชีพเห็นว่าสามารถนำวุฒิการศึกษาที่ได้รับไปสมัครงาน และเหตุผลด้านสังคม มีความเห็นว่าอยากให้พี่น้องคนใกล้ชิดภูมิใจว่าเมื่อผ่านการเป็นทหารแล้วมีวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้น ผลการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา พบว่าตัวแปรด้านอายุ สถานภาพการสมรส อาชีพก่อนเข้ารับราชการทหาร และสภาพครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นในการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียน ส่วนตัวแปรด้านพื้นฐานการศึกษา และฐานะทางครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นในการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียนของทหารกองประจำการ ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในหน่วยทหารมีความเห็นว่าควรพัฒนาด้านสื่อการเรียนการสอน ควรมีการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพให้มากขึ้น ควรเน้นการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ควรเพิ่มเวลาเรียนให้มีเวลาอ่านหนังสือและค้นคว้าและควรขยายการศึกษาถึงระดับปริญญาตรีเพื่อผู้เรียนจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1078
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก702.88 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ426.02 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.85 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ522.86 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 15 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 224.42 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.4 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 410.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 59.47 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.57 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.