Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1106
Title: มารยาทไทย : วัฒนธรรมบนรากฐานของพระพุทธศาสนา
Other Titles: Thai Manners : A Buddhist Based Culture
Authors: เฉลิมศรี, พลายพงษา
Plaipongsa, Chalermsri
Keywords: มารยาท
วัฒนธรรม
พระพุทธศาสนา
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2002
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ชาติไทยเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาช้านาน มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ประกอบกับแนวปฏิบัติของมารยาทไทยและข้อปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรากฐานที่มาของเอกลักษณ์แห่งมารยาทไทยในด้านมารยาททางกาย มารยาททางวาจา และมารยาททางใจว่ามีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา ดังปรากฎในพระไตรปิฎกหรือไม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจเชิงวิจัยเอกสาร จากพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539 เฉพาะพระวินัยปิฎก เล่ม 2 หมวดเสขิยวัตร และพระสุตตันตปิฎก ครอบคลุมเนื้อหามารยาทไทย กล่าวคือ มารยาททางกาย ได้แก่ มารยาทในอิรอยาบถใหญ่ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน มารยาทการแสดงความเคารพ มารยาทการแต่งกาย มารยาทการรับประทานอาหาร มารยาททางวาจาและมารยาททางใจ ผลการวิจัยพบว่า ในพระวินัยปิฎก หมวดเสขิยวัตร มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุสงฆ์ต้องศึกษา ทั้งมารยาททางกาย และมารยาททางวาจา ได้แก่ การยืน การเดิน การนั่ง การพูด การรับประทานอาหาร ซึ่งในข้อบัญญัติได้กล่าวถึงการเข้าไปอยู่ในที่ชุมชนควรสำรวมตน ไม่แสดงกิริยาอาการที่ทำให้เป็นที่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อมิให้ผู้ที่พบเห็นติเตียนหรือขาดการเลื่อมใสศรัทธาได้ ในพระสุตตันตปิฎก เป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่พุทธสาวก พุทธสาวิกาและผู้ที่นับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ถูกกาลเทศะ โดยประมวลเป็นเรื่องเล่า เนื้อความ ภาษิตและชาดกต่างๆไว้ในพระสูตร เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณและโทษของการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องทั้งมารยาททางกาย มารยาททางวาจาและมารยาททางใจ โดยเฉพาะมารยาททางใจนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นบ่อเกิดมารยาททางกาย และมารยาททางวาจาที่ปรากฎให้เห็นออกมาแก่สายตาของผู้อื่น ทำให้ผู้ที่นับถือขาดการเลื่อมใสและศรัทธาได้ ประเทศไทยในฐานะที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นสถาบันหลักอันสำคัญยิ่งต่อการดำรงคงอยู่ของประชาชาติไทย พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกล่อมเกลาจิตใจและสร้างสำนึกทางศีลธรรม โดยมีวัดและพระสงฆ์เป็นกลไกสำคัญในการอบรมสั่งสอนให้ประชาชนเป็นผู้ที่ประพฤติดี มีศีลธรรมจรรยามารยาท และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และช่วยลดการกระทบกระทั่งและการขัดแย้งกันในสังคม กิริยามารยาทที่คนไทยปฏิบัติกันทุกวันนี้ มีความสอดคล้องกับข้อบัญญัติ หมวดเสขิยวัตร ในพระวินัยปิฎก และหลักธรรมคำสอนในพระสุตตันตปิฎก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ช่วยให้การปฏิบัติตนอยู่ในอาการสำรวม ไม่แสดงกิริยาอาการอันเป็นที่ไม่พอใจแก่ผู้ที่พบเห็น หรือไปกระทบกระทั่งบุคคลอื่นให้เป็นที่เดือดร้อนกาย วาจาและใจ ดังนั้น การเจริญสติในชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นอย่างมากในการรักษาตนให้เป็นผู้ทีมีมารยาททางกาย มารยาททางวาจา และมารยาททางใจที่ดีได้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1106
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก665.15 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ412.23 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.89 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ493.36 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.56 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.92 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 216.55 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 347.95 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 424.82 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 55.31 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.66 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก333.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.