Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1128
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้า ในร้าน จี.คิว.นม และขนมปัง
Other Titles: Factors Influencing Customer Purchasing In G.Q. Nom and Kanompung
Authors: ภูเมศ, โชคสุขศรีกุล
Choksuksrikul, Phumes
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
สินค้า
การตัดสินใจ
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้าน จี.คิว.นมและขนมปัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคสินค้า จำนวน 310 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทีเทส และเอฟเทส ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.90) อายุ 20-30 ปี (ร้อยละ 30.97) เป็นพนักงานบริษัท (ร้อยละ 44.19) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท (ร้อยละ 30.97) ความถี่ในการบริโภคสินค้า สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ร้อยละ 29.03) เข้ามาบริโภคสินค้าในวันอาทิตย์ (ร้อยละ 35.81) เวลา 13.01-15.00 น. (ร้อยละ 34.84) จะมากับเพื่อน (ร้อยละ 46.77) ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง (ร้อยละ 45.30) ชอบบริโภคขนมปังปิ้งรส เนย นม (ร้อยละ 34.84) ชอบดื่มนมสด (ร้อยละ 37.10) ค่าใช้จ่าย 41-70 บาท (ร้อยละ 49.30) เหตุผลที่มีบริโภคสินค้า เพราะรสชาติอร่อย (ร้อยละ 66.45) (2)ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้าน จี.คิว.นมและขนมปังในระดับมาก (x=3.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสำคัญระดับมาก (x =3.86, x= 3.84 และ x=3.78 ตามลำดับ) สำหรับด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสำคัญระดับปานกลาง (x=3.03) (3)การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมทางการตลาดของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 4 ด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บริโภคที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมเฉพาะด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ และ ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1128
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก987.79 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ549.15 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.39 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ519.76 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.55 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.98 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 214.3 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.73 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 437.22 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 511.37 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.25 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก9.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.