Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิริจิต, สุธีรพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorSuteerapongpun, Sirijit-
dc.date.accessioned2018-10-31T08:12:09Z-
dc.date.available2018-10-31T08:12:09Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1156-
dc.description.abstractการค้นคว้าวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น และใช้การเลือกตัวอย่างตามความสะดวก การวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงกลุ่ม การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม ในการวิเคราะห์ตัวแปรต้น คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านสังคม เพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจและพฤติกรรมใช้แก๊สโซฮอล์ของผู้ขับขี่รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 35-45 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ญี่ปุ่น และอายุรถที่ใช้ไม่เกิน 5 ปี ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างที่พึงพอใจ มีพฤติกรรมในการใช้แก๊สโซฮอล์ คือ เริ่มใช้แก๊สโซฮอล์มาไม่เกิน 3 เดือน โดยเลือกเติมแก๊สโซฮอล์ที่ ปตท. เติมจำนวน 3-4 ครั้งต่อเดือน เติมครั้งละ 300-600 บาท ช่วงเวลาที่สะดวกเติมคือ 14.00-18.00 น.รวมถึงมีการให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น และยังคงตัดสินใจใช้แก๊สโซฮอล์ เมื่อส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์และเบนซินลดลงจาก 1.50 บาท เป็น 1.00 บาท และผลการวิจัยพบว่าหากมีการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องผลิตภัณฑ์แก๊สโซฮอล์ สถานีบริการน้ำมัน และปัจจัยด้านสังคมแล้ว จะส่งผลต่อความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น และปัจจัยทั้ง 3 ยังมีผลต่อการตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้แก๊สโซฮอล์ เมื่อส่วนต่างของราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์และเบนซินลดลง ดังนั้นภาครัฐควรมีการรณรงค์ และพัฒนาเรื่องแก๊สโซฮอล์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ขับขี่รถยนต์ ก่อนยกเลิกน้ำมันเบนซิน และใช้แก๊สโซฮอล์ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.2550 ตามนโยบายของภาครัฐen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.subjectแก๊สโซฮอล์en_US
dc.subjectรถยนต์en_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleความพึงพอใจและพฤติกรรมในการใช้แก๊สโซฮอล์ของผู้ขับขี่รถยนต์ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeCustomer Satisfaction and Behavior of Gasohol Consumption in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก568.99 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ535.26 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ129.5 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ43.99 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.26 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.92 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 24.97 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 410.77 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.16 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม151.57 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก866.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.