Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1167
Title: พฤติกรรมสุขภาพสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มารับบริการคลีนิค วัยหมดประจำเดือน ของโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2545
Other Titles: Health Behaviors of Menopausal women receiving treatment in the hospitals under the Supervision of Bangkok Metropolitan Administration in the Year 2002
Authors: รุ่งนภา, อุทปา
Utapa, Rungnapa
Keywords: หมดประจำเดือน
สตรี
การบริการ
คลีนิค
พฤติกรรมสุขภาพ
โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2002
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ปัจจุบันสังคมไทยถูกวัฒนธรรมจากหลายวัฒนธรรมเข้าครอบงำ จนกลายเป็นสังคมบริโภคมากขึ้น ประชาชนจะต้องต่อสู้ดิ้นรนหาเลี้ยงชีพเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้ภายใต้สังคมที่มีการแข่งขันกันสูง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งมีมากมายหลายด้านมากขึ้น ในบางสิ่งเป็นความจำเป็นที่ต้องจัดหามา แต่บางสิ่งก็เป็นเรื่องของความฟุ่มเฟือย สตรีวัยหมดประจำเดือนเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการในสภาวะที่กำลังมีภาวะเสื่อมทางร่างกาย ความแปรปรวนทางอารมณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจทำการวิจัยเรื่องพฤติกรรมสุขภาพสตรีวัยหมดประจำเดือน ที่มารับบริการคลีนิควัยหมดประจำเดือนของโรงพยาบาล สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ.2545 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิต ซึ่งได้แก่ ทัศนคติต่อสุขภาพ ความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตน และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มารับบริการคลีนิกวัยหมดประจำเดือนของโรงพยาบาล สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางชีวสังคม ซึ่งได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ โรคประจำตัวและอาการวัยหมดประจำเดือนกับพฤติกรรมสุขภาพ ในการวิจัยนี้ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ 4 ด้าน คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมรักษาอนามัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการจัดการความเครียด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เลือกสุ่มจากผู้มารับบริการคลีนิควัยหมดประจำเดือนของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2545 จาก 4 โรงพยาบาล ได้แก่ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และวชิรพยาบาล โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ รวม 196 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1.สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มารับบริการส่วนใหญ่สถานภาพสมรสคู่ ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 25,800 บาท ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว และมีอาการวัยหมดประจำเดือนมาก 2.ปัจจัยทางจิต ซึ่งได้แก่ ทัศนคติต่อสุขภาพ ความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตนและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้าน คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการรักษาอนามัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ทัศนคติต่อสุขภาพและความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มย่อย 12 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทัศนคติต่อสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพใน 11 กลุ่มย่อย ยกเว้น กลุ่มรายได้สูง ส่วนทัศนคติต่อสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย 12 กลุ่ม ความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตนมีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมใน 11 กลุ่มย่อย ยกเว้นกลุ่มรายได้สูง และความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพใน 11 กลุ่มย่อยยกเว้นกลุ่มสถานภาพสมรส โสด ส่วนการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย ข้อเสนอแนะ 1)จากการวิเคราะห์ในกลุ่มรวม พบว่า การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์สูงสุดต่อพฤติกรรมสุขภาพสตรีวัยหมดประจำเดือน ดังนั้น จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือน 2)ส่งเสริมสตรีวัยหมดประจำเดือนให้มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้เป็นประโยชน์และพร้อมที่จะกระทำเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี 3)ส่งเสริมให้สตรีวัยหมดประจำเดือนและบุคคลรอบข้างให้เกิดความเชื่อเรื่องผลของการกระทำดีได้ดี ดังนั้น การมีความเชื่อเรื่องการปฏิบัติอย่างมีสุขภาพการเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ จะทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติเอง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1167
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก733.12 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ400.85 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.59 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ448.06 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.4 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 15.47 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 237.91 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.09 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 413.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 56.99 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.68 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.