Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1204
Title: ชุมชนชานเมืองกับความรู้สึกมั่นคงในชีวิต
Other Titles: The Suburban Community and the Feeling of Security
Authors: เอกพจน์, ศรีสุข
Srisuk, Ekapoj
Keywords: ชุมชนชานเมือง
คุณภาพชีวิต
การค้นคว้าอิสระ
ความมั่นคงของมนุษย์
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกมั่นคงในชีวิตของคนในชุมชนซึ่งมีคนอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนยากจน กลุ่มที่มีฐานะเป็นคนชนชั้นกลางระดับล่าง และกลุ่มที่มีฐานะเป็นคนชนชั้นกลางระดับกลางวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำแนวคิด “ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต” มาใช้ตีความและทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้มีฐานะยากจน ผู้มีฐานะคนชั้นกลางระดับล่าง ผู้มีฐานะคนชั้นกลางระดับกลาง รวมทั้งสิ้นจำนวน 27 คนในชุมชนมิตรมงคล (ชื่อสมมุติ) ซึ่งเป็นชุมชนชานเมืองแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แนวคิด “ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต” ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่คนเรามีทางวัตถุ กับสิ่งที่คนเรานั้นอยากหรือคาดหวังซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ ในลักษณะสมการอย่างง่ายคือ ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต=สิ่งที่เรามี/สิ่งที่เราอยาก จากสมการ สิ่งที่เราอยาก เป็นตัวหาร จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อความรู้สึกมั่นคงในชีวิต สิ่งที่เราอยากหรือคาดหวังเกี่ยวข้องกับการคิดต่างๆ ที่สำคัญอาทิ การคิดเชิงเปรียบเทียบสถานะ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิด “ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต” ช่วยให้เข้าใจความรู้สึกมั่นคงในชีวิตของชาวชุมชนชานเมืองดังกล่าวได้ กล่าวคือ คนจนในชุมชนมีแนวโน้มจะสะท้อนว่าตนมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิตมาก เพราะไม่ได้คิดเปรียบเทียบสถานะกับคนที่เหนือกว่า ซึ่งดูเป็นสิ่งที่ไกลห่างเกินไปหรือคิดว่าเป็นไปได้ยากในทางความเป็นจริง แต่กลุ่มคนจนในชุมชนกลับเปรียบเทียบสถานะกับคนที่ยังยากจนกว่าที่อยู่นอกชุมชน หรือเปรียบเทียบกับสถานะของตนในอดีตที่ยากจนกว่าในปัจจุบัน ในขณะที่กลุ่มคนชนชั้นกลางระดับล่างและกลุ่มคนชนชั้นกลางระดับกลาง ในชุมชนซึ่งกลับรายงานว่าตนมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิตของตนไม่มากนั้น คนชนชั้นกลางระดับกลางมีแนวโน้มรายงานว่าตนมีความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตมากเสียยิ่งกว่าคนชนชั้นกลางระดับล่างเสียอีก เหตุผลเป็นเพราะความคาดหวังและมาตรฐานในการดำรงชีวิตของชนชั้นกลางระดับกลางมักสูงกว่าชนชั้นกลางระดับล่างโดยเปรียบเทียบ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1204
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก140.91 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ48.18 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ116.81 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ65.43 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ94.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1141.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2111.13 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 399.79 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4202.56 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5254.28 kBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 6110.64 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม81.22 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก92.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.