Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1221
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีรชัย, คำธร-
dc.contributor.authorKamthorn, Wirachai-
dc.date.accessioned2018-12-06T08:56:58Z-
dc.date.available2018-12-06T08:56:58Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1221-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1)มุ่งเสริมสร้างพัฒนาป่าชุมชนผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ (2)มุ่งพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวท้องถิ่นโดยพัฒนาป่าชุมชนภูน้อยให้เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ (3)มุ่งเสริมสร้างกระบวนการกลุ่มผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของสำนักสงฆ์ ป่าชุมชนภูน้อย และเขื่อนลำสะพุง เพื่อก้าวสู่แหล่งท่องเที่ยวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำสงฆ์ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน และกรรมการจัดการป่าชุมชน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ส่วนประชากรใช้ประเมินโดยประชาสัมพันธ์อาสาสมัคร และทำหนังสือเชิญเข้าร่วม ได้แก่ นักเรียน 23 คน ประชาชนประเมินหลังเสร็จกิจกรรม 29 คน และประเมินภายหลัง 3 เดือน 47 คน รวม 99 คน ขอบเขตเนื้อหาตามแนวคิดการประเมินรูปแบบ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินสภาวการณ์ แบบประเมินความตั้งใจสู่การปฏิบัติ แบบติดตามการพัฒนาป่าชุมชนภูน้อย มีค่าความเชื่อมั่น (a) พิสัย = .806 - .942 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ การสังเกต การบันทึกภาพ และตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักา์ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษาที่สำคัญมีดังนี้ ประเด็นที่ 1 การเสริมสร้างพัฒนาป่าชุมชนภูน้อย มีตัวบ่งชี้หลังดำเนินกิจกรรมเสร็จ คือ การได้ป่าชุมชนภูน้อยเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่น (ค่าเฉลี่ย = 4.59) สอดคล้องกับตัวบ่งชี้หลังดำเนินกิจกรรมเสร็จ 3 เดือน คือ การได้ประโยชน์จากการหาเก็บเห็ด หน่อไม้ ผักหวาน (กิน-ขาย) (ค่าเฉลี่ย = 4.43) ประเด็นที่ 2 การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวท้องถิ่น คือ การได้เขื่อนแม่น้ำลำสะพุงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ (ค่าเฉลี่ย = 4.22) ประเด็นที่ 3 การเสริมสร้างกระบวนการกลุ่มผู้นำ คือ ลักษณะผู้นำกลุ่มต่อการจัดการป่าชุมชนภูน้อยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68) มีตัวบ่งชี้ คือ (1) การมีส่วนร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชน และ (2)การสนับสนุนทรัพย์เพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชน ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ (1) แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟไหม้ป่า (2)แนวคิดที่จะพัฒนาสำนักสงฆ์ (3)แนวคิดคืนผืนป่าให้เป็นแหล่งอาหารของประชาชน (4)แนวคิดการปลูกต้นไม้ประเภทสวยงามและกินได้ตามเส้นทางในป่าชุมชน (5)แนวทางพัฒนาเขื่อนลำสะพุงให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และ (6) แนวคิดปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันน้ำไหลกัดเซาะหน้าดินไหลลงสู่แม่น้ำลำสะพุงen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectแหล่งท่องเที่ยวen_US
dc.subjectกระบวนการกลุ่มพลิกพื้นผืนป่าen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleกระบวนการกลุ่มพลิกพื้นผืนป่าเพื่อการเรียนรู้ก้าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาป่าชุมชนภูน้อย (บ้านนาเจริญ) หมู่ 9, 18 ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิen_US
dc.title.alternativeThe Process of forestry restoration for learning as the tourism location based on the theory of Sufficiency economy : A Case Study of Phunoi Community Forest, Moo 9, 18, Nongwaeng Sub-District, Buadaeng District, Chiyaphum Provinceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก145.05 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ163.31 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ84.03 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ267.23 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1545.49 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2629.38 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3474.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 414.17 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5503.7 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม207.12 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.