Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1224
Title: การพัฒนาแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐาน TQF ตามแนวคิดการเรียนการสอนโดยการบริการสังคมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: Development of Instruction Model for Enhance Qualified Characteristics TQF-based framework On Teaching and Learning via Service Learning for Undergraduate Students.
Authors: วินัยธร, วิชัยดิษฐ์
Wichaidit, Winaithorn
Keywords: ระบบการเรียนการสอน
มาตรฐาน TQF
การบริการสังคม
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐาน TQF ตามแนวคิดการเรียนการสอนโดยการบริการสังคมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2)เพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3)เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐาน TQF ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 2 จำนวน 4 สาขาวิชาละ 1 ห้องเรียน คือ นักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 43 คน นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 52 คน นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 48 คน และนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 43 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มรวมนักศึกษาทั้งสิ้น 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐาน TQF แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) การวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสาขาด้วย ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า CPCPAFE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และการปฏิบัติ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนอง ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้น คือ 1)ปัญหาชวนคิด (C : Challenging Problem) 2)ขั้นให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ (P : Presentation and Practice) 3)ขั้นสร้างความคิดรวบยอด (C : Conceptualization of Knowledge) 4)ขั้นดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (P : Proceeding of Characteristics Development) 5)ขั้นประเมินความก้าวหน้า (A : Assessment of Growth Development) 6)ขั้นส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (F : Fostering of Higher Level Characteristics Development) และ 7)ขั้นประเมินผล (E : Evaluation) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เท่ากับ 83.60/80.67 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2.ผลการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3.ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐาน TQF ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างสาขาวิชา นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปมีคะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบ TQF มากกว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาและสาขาวิชาสังคมศึกษาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคู่อื่นมีคะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบคุณวุฒิ TQF ไม่แตกต่างกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1224
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก545.1 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ878.07 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ45.37 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ597.53 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 24.9 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.48 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5594.12 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม141.97 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.