Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1229
Title: การศึกษากระบวนการเรียนรู้กลุ่มผู้สูงอายุและการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Study of Learning Process of the Elders and Utilization of the Community People in Samutprakarn Province
Authors: พรศิริ, กองนวล
Kongnual, Pornsiri
วิไล, ตั้งจิตสมคิด
Taugchitsomkit, Wilai
สุชาดา, ธโนภานุวัฒน์
Tanopanuwat, Suchada
Keywords: กระบวนการเรียนรู้
ผู้สูงอายุ
การนำไปใช้ประโยชน์
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษากระบวนการเรียนรู้กลุ่มผู้สูงอายุและการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกลุ่ม/ชุมชน/องค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ศึกษาตัวบ่งชี้แนวปฏิบัติที่ดีกลุ่มผู้สูงอายุและการนำไปใช้ประโยชน์ ศึกษาลำดับขั้นตอน องค์ประกอบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชากรที่ใช้ในการศึกษามี 3 กลุ่ม ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 43 แห่ง ผู้นำชุมชนหรือประชาชนในชุมชนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี 13 แห่ง และผู้แทนหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักวิชาการ 7 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ และประชุมสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม/ชุมชน/องค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านผู้สูงอายุมี 13 กลุ่มดังนี้ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จำนวน 1 กลุ่ม อำเภอบางเสาธงจำนวน 3 กลุ่ม อำเภอพระประแดงจำนวน 3 กลุ่ม อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จำนวน 1 กลุ่มอำเภอบางพลีจำนวน 4 กลุ่ม อำเภอบางบ่อจำนวน 1 กลุ่ม ตัวบ่งชี้ของกลุ่มที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านผู้สูงอายุ มี 4 ด้าน ได้แก่ ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้น 47 ตัวบ่งชี้ ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย 1) ร่วมคิด ร่วมรับฟังความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ ร่วมตัดสินใจ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา และประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 2) ร่วมดำเนินการ ร่วมกันดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ด้านสุขภาพ การบำเพ็ญประโยชน์ นันทนาการต่างๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการร่วมดำเนินการ 3) ร่วมสรุปบทเรียน สมาชิกมีการร่วมประเมินผลการดำเนินการ รายงานผลการดำเนินงาน หรือรายงานสรุปการเงิน การเผยแพร่ผลการดำเนินงานหรือกิจกรรม และการทบทวนบทบาทของสมาชิก 4) ร่วมรับผลประโยชน์ แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือผลประโยชน์ที่เป็นค่าตอบแทน และผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ค่าตอบแทน องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ภายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่มถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาจัดอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม 2) ภายนอกชุมชน ได้แก่ การศึกษาดูงานกลุ่มอื่นๆ การอบรมกับหน่วยงานภายนอก การค้นคว้าข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม บุคคลภายนอกเข้ามาเรียนรู้กับกลุ่ม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำ สมาชิก และชุมชน 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น กฎหมาย/ระเบียบ นโยบายของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และครอบครัว 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ ชุมชนมีผู้สูงอายุจำนวนมาก มีความหลากหลายแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ภูมิลำเนา อาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม การมีองค์กรที่มีศักยภาพ การเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางสาธารณสุข สภาพสังคมที่ปรับเปลี่ยน การมีอุตสาหกรรมในพื้นที่ การยอมรับและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุว่ามีความสามารถดูแลตนเองได้ ฯลฯ แนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พบว่ามีการดำเนินงานของกลุ่มที่นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ได้แก่ 1) มีผู้นำที่ดี ได้แก่ มีคุณธรรมจริยธรรม มีภาวะผู้นำ มีฐานะดีหรือมีความสามารถในการหางบประมาณ การผลักดันของผู้นำและคณะกรรมการที่มีความสามารถ มีความรอบรู้และมีสังคม 2) มีความร่วมมือจากสมาชิก ได้แก่ มีการร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมสรุปบทเรียน และร่วมรับผลประโยชน์ 3) มีการบริหารจัดการที่ดี ได้แก่ การได้มาของผู้นำและคณะกรรมการ การรับสมาชิก การจัดการโครงสร้าง การวางแผนการดำเนินงาน 4) มีการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ภาครัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ/ภาคเอกชน 5) มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน และการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1229
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก540.27 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.61 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ29.85 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ509.64 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.8 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.62 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3781.11 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.44 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.96 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม185.15 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.