Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1260
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิธิภัทร, บาลศิริ-
dc.contributor.authorนงเยาว์, อุทุมพร-
dc.contributor.authorปนัดดา, ยิ้มสกุล-
dc.contributor.authorสายพิณ, ธรรมบำรุง-
dc.date.accessioned2019-01-08T05:56:16Z-
dc.date.available2019-01-08T05:56:16Z-
dc.date.issued2012-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1260-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา 2)ศึกษาทักษะทางปัญญาของนักศึกษา 3)ศึกษาทักษะการวิจัยของนักศึกษา 4)เปรียบเทียบคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา ระหว่างคะแนนช่วงต้นภาคเรียน และคะแนนช่วงปลายภาคเรียน 5)เปรียบเทียบคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 6)เปรียบเทียบคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชาย และนักศึกษาหญิง ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ การพัฒนานักศึกษาแบบบูรณาการ ด้วยแนวคิดต่อไปนี้ 1)การศึกษาชุมชน 2)ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)อัตลักษณ์ชุมชน 4)การมีส่วนร่วมของชุมชน 5)การสืบทอดวัฒนธรรม 6)ทฤษฎีทางสังคมวิทยา 7)การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเป็นฐาน และ 8)การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นหลัก ชั้นปีที่ศึกษา เพศ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะทางปัญญา และทักษะการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 307 คน จาก 8 ห้องเรียน ซึ่งกระจายอยู่ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบวัดทักษะทางปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสอง สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักศึกษามีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารญาณในช่วงต้นภาคเรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 2.11 คะแนนสูงสุดเท่ากับ 4.11 คะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.82 มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 1.12 คะแนนสูงสุดเท่ากับ 4.11 คะแนนจิตลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 2.26 คะแนนสูงสุดเท่ากับ 4.49 2.นักศึกษามีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในช่วงปลายภาคเรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.07 มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 1.60 คะแนนสูงสุดเท่ากับ 4.43 คะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.04 มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 2.00 คะแนนสูงสุดเท่ากับ 4.66 3.นักเรียนมีคะแนนทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61 มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 0.91 คะแนนสูงสุดเท่ากับ 3.94 4.นักศึกษามีทักษะการสืบค้นข้อมูล ร้อยละ 84.56 ทักษะการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 72.60 ทักษะการจัดทำโครงร่างงานวิจัย ร้อยละ 88.36 ทักษะการดำเนินงานตามโครงการวิจัย ร้อยละ 64.41 5.นักศึกษามีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในช่วงปลายภาคเรียน สูงกว่าช่วงต้นภาคเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.000 ค่าสถิติ t= 4.921 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.07 และ 2.95 ตามลำดับ 6.นักศึกษามีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในช่วงปลายภาคเรียน สูงกว่าช่วงต้นภาคเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.000 ค่าสถิติ t= 6.365 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 และ 2.82 ตามลำดับ 7.นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.026 ค่าสถิติ F= 3.117 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18,3.03,3.05 และ 3.01 ตามลำดับ 8.นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.000 ค่าสถิติ F= 6.597 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28,3.03,3.17 และ 2.77 ตามลำดับ 9.นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีคะแนนจิตลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.026 ค่าสถิติ F= 6.256 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.10,3.04,2.94 และ 3.22 ตามลำดับ 10.นักศึกษาหญิงมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.000 ค่าสถิติ t= 4.493 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 และ 2.94 ตามลำดับ 11.นักศึกษาหญิงมีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.000 ค่าสถิติ t= 4.211 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 และ 2.89 ตามลำดับ 12.นักศึกษาหญิงมีคะแนนจิตลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า p-value = 0.018 ค่าสถิติ t= 2.393 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 และ 2.97 ตามลำดับen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectการพัฒนาครูen_US
dc.subjectวิถีชีวิตชุมชนในฝั่งธนบุรีen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleโครงการวิจัยและพัฒนาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตชุมชนในเขตฝั่งธนบุรีen_US
dc.title.alternativeResearch-Based Teacher Development Project using Regional knowledge and wisdom of Dhonburi Rajabhat University : Community Life Style in Dhonburi Regionen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก625.64 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ953.22 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ38.06 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ947.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.77 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 233.83 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.56 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 55.39 MBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 66.5 MBAdobe PDFView/Open
Unit 7.pdfบทที่ 73.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 8.pdfบทที่ 81.69 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.97 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก27.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.