Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1268
Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้สูงอายุ
Other Titles: Community's Participation for Subsidiary Job Creation of Senior
Authors: พิมพงา, เพ็งนาเรนทร์
Phangnarean, Pimpanga
Keywords: การมีส่วนร่วมของชุมชน
การพัฒนาอาชีพ
การเพิ่มรายได้
ผู้สูงอายุ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุและดำเนินการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน การสนทนากลุ่ม Focus Group ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำชุมชนเพื่อหากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ และแนวทางดำเนินการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ สัมภาษณ์ตัวแทนประชาชนที่เกี่ยวกับบริบทของชุมชน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ ในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 353 คน ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Approach Analysis) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณใช้สถิติการวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความต้องการของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ย (X=3.80) ความต้องการของผู้สูงอายุต่อระยะเวลาที่ต้องการพัฒนาอาชีพคือ 1-2 วัน ช่วงเวลาที่ต้องการพัฒนาอาชีพวันเสาร์-วันอาทิตย์ รูปแบบการจัดกิจกรรมการพัฒนาอาชีพ คือ จัดอบรมทำกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน อบต.และชุมชนเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนในการแสดงความคิดเห็นและเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ผู้นำชุมชนจะเป็นหลักในการร่วมผลักดัน เพื่อให้เกิดโครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องจะร่วมในการประชุมและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนทุกครั้งเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ ด้านการมีส่วนร่วมในการใช้บริการจากโครงการ ในช่วงปี 2557-2559 ผู้นำชุมชนได้มีกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพ เช่น กระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้โดยการถักสานด้วยมือซึ่งเป็นหลักสูตรในระยะสั้น การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์การฝึกอบรมอาชีพว่าส่วนใหญ่จะทำการฝึกอาชีพที่มีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ รวมถึงหาแหล่งสนับสนุนเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาอาชีพให้ผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง แนวทางดำเนินการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ คือ 1.ควรให้ผู้สูงอายุได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างอาชีพ หรือร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของกลุ่มอาชีพ อาจเป็นการเข้าร่วมทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถสร้างแรงจูงใจสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในการทำงานมากขึ้น 2.ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจต่อความถนัดของผู้สูงอายุและผลประโยชน์ที่จะได้รับโดยจะต้องคำนึงถึงระดับสมรรถภาพในด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ 3.ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้สูงอายุ จะต้องมีโครงสร้างและระบบการจัดการที่เชื่อมโยงกันกับการสร้างอาชีพเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม 4.ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการในการปฏิบัติที่สอดคล้องและเอื้อให้เกิดระบบการดำเนินงานที่ดี จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์ของกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนผู้สูงอายุ ได้ข้อสรุปและแนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้และพัฒนาให้ความรู้กับผู้สูงอายุที่เกิดแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ได้เสนอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ชุมชน กลุ่มวิสาหกิจในชุมชนของตำบลเทพารักษ์ ได้เข้ามาให้ความรู้ในการสร้างอาชีพเสริมโดยเชิญวิทยากร อาจารย์รัตนา สุวรรณา จากกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนมาบรรยายและสอนการทำกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งเหตุผลที่ เลือกทำโครงการนี้เพราะว่าชุมชนในตำบลเทพารักษ์เป็นชุมชนเมืองจึงมีวัสดุเหลือใช้นี้ค่อนข้างมาก เช่น กระป๋องบรรจุน้ำอัดลม กระป๋องเบียร์ กล่องบรรจุภัณฑ์ ที่มีลวดลายสวยงาม ซึ่งถ้าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมจะได้มีความรู้และนำไปทำเป็นอาชีพเสริมอาจเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุุอาจจะรวมกลุ่มกันและไปตั้งสินค้าขายในนามชมรมผู้สูงอายุของตำบล โดยนำสินค้าไปวางขายในงานโอทอปของตำบลเทพารักษ์ หรืองานโอทอปของจังหวัดสมุทรปราการ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1268
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก564.31 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ884.74 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ602.04 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ122.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 26.09 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3300.06 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.5 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.64 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม919.64 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.