Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิธิภัทร, บาลศิริ-
dc.contributor.authorBalsiri, Nithipattara-
dc.date.accessioned2019-01-18T08:13:47Z-
dc.date.available2019-01-18T08:13:47Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1286-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาบริบทชุมชน แหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ 2)เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญบางกระดี่ 3)เพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ 4)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนมอญบางกระดี่ 5)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ พื้นที่ศึกษาคือ ชุมชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย คือ ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พื้นที่วิจัย คือ ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประธานชุมชน ประชาชนชุมชนบางกระดี่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เจ้าอาวาสวัดบางกระดี่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนวัดบางกระดี่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจชุมชน แบบสำรวจครัวเรือน แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกประเภท และการสรุปเชิงอุปนัย การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนในชุมชน นักท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุตัวแปร เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุมชนมอญบางกระดี่เป็นชุมชนเล็กๆ ในแถบชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับคลองสนามชัย มีการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพรี พิธีกรรม และความเชื่อมายาวนาน ชุมชนมอญบางกระดี่มีวัดบางกระดี่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่ โรงเรียนวัดบางกระดี่ และสมาคมไทยรามัญ เป็นสถาบันที่ธำรงรักษาอัตลักษณ์และวัฒนธรรมมอญของชุมชนเอาไว้อย่างดียิ่ง ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีน้ำใจ มีอัธยาศัยไมตรีที่ดี ให้ความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมและเข้าร่วมประเพณีต่างๆ ของชุมชน 2)แหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญบางกระดี่มีดังนี้ วัดบางกระดี่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่ บ้านแส้ บ้านทะแยมอญ บ้านดนตรีมอญ บ้านภาษามอญ บ้านอาหารมอญ บ้านขนมมอญ บ้านต้นจาก บ้านเครื่องแต่งกายมอญ บ้านผ้าสไบมอญ บ้านบ่อนสะบ้า บ้านฉัตรธงมอญ 3)ชุมชนมอญบางกระดี่มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ดังนี้ มีความเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา พิธีกรรมนับถือผีบรรพบุรุษ ผีประจำชุมชน มีการทำบุญตักบาตรเป็นประจำ มีการธำรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละเดือนอย่างเคร่งครัด มีภาษา เครื่องแต่งกาย อาหาร และขนมที่เป็นอัตลักษณ์ ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนมอญบางกระดี่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป รับราชการ พนักงานบริษัท ค้าขาย พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจส่วนตัว 4)ชุมชนมอญบางกระดี่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมอญ ด้านภาษามอญ ด้านอาหารมอญ ด้านการทำผ้าสไบมอญ ด้านขนมมอญ ด้านการแต่งกายมอญ ด้านการทำแส้ ด้านวงทะแยมอญ ด้านดนตรีมอญ ด้านการทำตับจาก ด้านการทำเสื่อกก 5)ชุมชนมอญบางกระดี่มีอัตลักษณ์เกี่ยวกับภาษามอญ การแต่งกายมอญ อาหารมอญ ขนมมอญ กะละแม ข้าวแช่ วงทะแยมอญ การละเล่นสะบ้า ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง การนับถือผีบรรพบุรุษ การนับถือผีประจำหมู่บ้าน พิธีกรรมรำผีมอญ 6)รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญบางกระดี่ มีดังนี้ "ALM Model" ขั้นที่ 1 A : การวิเคราะห์ SWOT ขั้นที่ 2 L : การกำหนดแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญบางกระดี่ ขั้นที่ 3 M : การกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญบางกระดี่ 7)รูปแบบการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ เป็นดังนี้ "AVLMCSC Model" A : การวิเคราะห์ SWOT V : การปลูกจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าแก่เยาวชน L : การสอนภาษามอญในระบบโรงเรียน M : การสอนดนตรีมอญในระบบโรงเรียน C : การสอนการทำผ้าสไบมอญในระบบโรงเรียน S: การธำรงรักษาประเพณีสงกรานต์ C : การธำรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมอญ 8)รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนมอญบางกระดี่ เป็นดังนี้ "ALTPSSS Model" A : การวิเคราะห์ SWOT L : การกำหนดแหล่งเรียนรู้ของชุมชน T : การกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมอญ P : การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน S : การสร้างการบริการบริการด้วยใจ S : การพัฒนาสินค้าที่ระลึกของชุมชน S : การดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชน 9)รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ เป็นดังนี้ "ALTPSSSVLMCSC Model" A : การวิเคราะห์ SWOT L : การกำหนดแหล่งเรียนรู้ของชุมชน T : การกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมอญ P : การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน S : การสร้างการบริการด้วยใจ S : การพัฒนาสินค้าที่ระลึกของชุมชน (Community Souvenir) S : การดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชน (Community Safety) V : การปลูกจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าแก่เยาวชน L : การสอนภาษามอญในระบบโรงเรียน M : การสอนดนตรีมอญในระบบโรงเรียน C : การสอนการทำผ้าสไบมอญในระบบโรงเรียน S : การธำรงรักษาประเพณีสงกรานต์ C : การธำรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมอญen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectชุมชนมอญบางกระดี่en_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe participatory management of cultural tourism for conservation and transmission of way of life, local wisdom, and identity of mon community, Bangkhuntian district, Bangkoken_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก604.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ309.17 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ25.69 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.34 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.56 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 213.23 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 451.33 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 56.03 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม620.36 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.