Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1298
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิมพงา เพ็งนาเรนทร์-
dc.contributor.authorPhangnarean, Pimpangaen_US
dc.date.accessioned2019-01-22T09:29:34Z-
dc.date.available2019-01-22T09:29:34Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1298-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลาง 2)ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภาคกลางของประชาชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการในตลาดน้ำ และเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ โดยการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ด้านการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลาง 3)ศึกษาแนวทางการพัฒฯาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายจาากนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำภาคกลางทั้ง 4 พื้นที่ จำนวน 405 คน โดยการแจกแจงแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการ สนทนากลุ่ม Focus Group ประชาชนในท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น และผู้ประกอบการร้านค้าที่อยู่ในตลาดน้ำภาคกลาง พื้นที่ละ 10 คน รวมทั้งหมด 4 พื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) นักท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดน้ำภาคกลางในเรื่องแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พื้นที่ละ 3 คน ทั้ง 4 พื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1.ศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านพื้นที่ ด้านสินค้า ด้านผู้ประกอบการ ด้านกิจกรรม ด้านการคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเผยแพร่ข่าวสาร 2.สภาพปัญหาการจัดการตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เมื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ผลดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์จุดแข็งอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ตลาดน้ำทั้ง 4 แห่งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานครหรือมีที่ตั้งในกรุงเทพมหานครทำให้สะดวกในการเดินทาง วิถีชีวิตของคนในชุมชนตลาดน้ำทั้ง 4 แห่ง ยังคงสภาพวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเน้นการดูแลพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คนในชุมชนมีอุปนิสัยโอบอ้อมอารีรักความสงบ คนในชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีถิ่นฐานอยู่ในชุมชนมาอย่างยาวนานเป็นคนเก่าแก่ที่อยู่กันมาจากรุ่นสู่รุ่นจึงมีความรักและผูกพันกันสามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ มีความหวงถิ่นฐานของตนเอง และตลาดทั้ง 4 แห่งมีสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มีบรรยากาศที่ดี มีความร่มรื่นอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครทำให้เดินทางสะดวก สินค้าที่นำมาจำหน่ายมีราคาไม่แพงเพราะสินค้าส่วนใหญ่มาจากผลผลิตในชุมชนโดยเฉพาะสินค้าตามฤดูกาล การวิเคราะห์จุดอ่อนอยู่ในระดับปานกลาง มีดังนี้ ตลาดบางแห่งค่อนข้างขาดแคลนพ่อค้าแม่ค้าที่จะเข้ามาขายสินค้าในตลาดเพราะจากสภาพวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะคนรุ่นใหม่ต้องการที่จะไปทำงานในอาชีพอื่นมากกว่าต้องการเป็นพ่อค้าแม่ค้าอยู่ในตลาด ระบบการบริหารจัดการภายในตลาดหรือการบริหารงานของคณะกรรมการพ่อค้าแม่ค้าและหน่วยงานภาครัฐที่ยังไม่มีการประสานที่ดีทางเดินที่ให้นักท่องเที่ยวเดินซื้อสินค้าค่อนข้างแคบ ไม่มีศูนย์สำหรับคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ไม่มีพิพิธภัณฑ์สำหรับจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตลาด ตลาดน้ำบางแห่งยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่เพียงพอ ทำให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวยังไม่รู้จักตลาดน้ำเท่าที่ควร การวิเคราะห์โอกาสอยู่ในระดับมาก ดังนี้ พื้นที่ของตลาดน้ำทั้ง 4 แห่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทำให้ตลาดน้ำสามารถเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดได้ และตลาดน้ำแต่ละแห่งมีความเป็นเอกลักษณ์ ตลาดน้ำบางที่เปิดให้บริการทุกวัน เช่น ตลาดน้ำดอนหวายทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวได้ตามสะดวกและทำให้ผู้ประกอบการร้านค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น และวิเคราะห์อุปสรรคอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ตลาดน้ำทั้ง 4 แห่ง ยังไม่มีสิ่งดึงดูด (จุดขาย) ที่ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจในความเป็นเลักษณ์ของตลาดมีสินค้าและบริการที่เหมือนกันอาจทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากันได้ ตลาดน้ำบางที่ยังไม่มีการให้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ 3.แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และผลจากการศึกษามีดังนี้ 1)ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐและสถานประกอบการให้มีความรู้สามารถเพิ่มมากขึ้น ควรจัดทำคู่มือที่มีข้อมูลของตลาดน้ำเป็นภาษาอังกฤษ ควรเพ่มพูนความรู้ด้านการให้บริการของสถานประกอบการเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อนักท่องเที่ยว ควรมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น 2)ด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยควรจัดทำป้ายต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกหรือสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และควรมีหน่วยรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 3)ด้านการประชาสัมพันธ์และโฆษณาควรประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต วิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด การใช้แผ่นพับหรือแผ่นโปสเตอร์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 4)ด้านการประสานงานเครือข่าย ควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการกับหน่วยงานภาครัฐ มีตัวแทนสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาประจำจังหวัดในพื้นที่ตั้งของตลาดน้ำ ควรมีเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการกับองค์กรเอกชน เช่น โรงแรม ที่พัก ควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. เทศบาล และควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการกับแหล่งท่องเที่ยวen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectตลาดน้ำen_US
dc.subjectประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลาง เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.title.alternativeGuidelines for Tourism Potential Development of Floating Markets in the Central Region for Enter The ASEAN Economic Communityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก81.74 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ162.75 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ60.7 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ133.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1233.64 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3183.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4929.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5308.65 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม118 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.