Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1336
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวินัยธร, วิชัยดิษฐ์-
dc.contributor.authorWichaidit, Winaithorn-
dc.contributor.authorจิตณรงค์, เอี่ยมสำอางค์-
dc.contributor.authorlamsam-ang, Chitnarong-
dc.date.accessioned2019-03-06T08:24:58Z-
dc.date.available2019-03-06T08:24:58Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1336-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยและพัฒนาและประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน แบบแผนการบุกเบิก กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกประธานและสมาชิกของศูนย์ฝึกอาชีพหัตถกรรมของจิ๋ว เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 คน และกลุ่มนักวิชาการ นักศึกษา และชุมชน ซึ่งเป็นผู้อาสาสมัคร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ขององค์ความรู้ที่จัดรวบรวมเป็นสารสนเทศ และแบบประเมินความเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และวีดิทัศน์ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปเชิงอุปมาน ผลการวิจัย พบว่า 1.ประวัติและวิถีการดำเนินกิจการกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วมซึ่งผลการวิจัย พบว่า ศูนย์ฝึกอาชีพหัตถกรรมของจิ๋วมีแนวทางการผลิตที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันเน้นแนวทางวิถีความเป็นไทย โดยอยู่บนหลักการสำคัญ 3 ประการคือ มุ่งเน้นคุณภาพ (Quality) การบูรณาการและสร้างสรรค์ (Integrate and Create) และ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network) 2.ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารวมนวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมีระดับความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.84 SD. = 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านองค์ประกอบสารสนเทศ และด้านเนื้อหาสาระมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 5.00 S.D. = 0.00) และด้านรูปแบบของสารสนเทศ ทางกายภาพมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ระดับมากที่สุด(X = 4.60 S.D. = 0.54) 3.ผลการประเมินความเหมาะสมของงานสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และวีดิทัศน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.82 S.D. = 0.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.93 S.D. = 0.25) และด้านทันสมัยในรูปแบบการนำเสนอองค์ความรู้มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.67 S.D. = 0.48)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนen_US
dc.subjectกระบวนการผลิตen_US
dc.subjectชุมชนต้นแบบen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการจัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมen_US
dc.title.alternativeThe knowledge management of production process and the administration of community enterprise model in Dhonburi district-based on community carticipationen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก568.78 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ819.04 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ30.01 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ567 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1282.38 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 232.65 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 35.83 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 425.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 54.78 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม320.87 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก8.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.