Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1418
Title: สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรีสำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: e-book Encyclopedia in Dhonburi Art for youth
Authors: ทองเจือ, เขียดทอง
Khiatthong, Thongchue
ฉลอง, สุนทรนนท์
SunThoranon, Chalong
สมัชชา, อภิสิทธิ์สุขสันติ
Apisitsuksunti, Samutcha
Keywords: กรุงธนบุรี
สารานุกรม
ศิลปกรรม
สารานุกรมกรุงธนบุรี
ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมของกรุงธนบุรีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมกรุงธนบุรีเป็นสารานุกรม ฉบับหนังสืออิเลคทรอนิกส์ (e-book) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเยาวชนในเขตธนบุรีต่อสารานุกรม ในด้านความรู้ศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี และลักษณะสารานุกรมประเภทหนังสือ อิเลคทรอนิกส์ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method) โดยศึกษาจากเอกสาร การสนทนากลุ่ม และความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาแยกแยะแบบสามเส้า แล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจ นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ผลการวิจัยพบว่า 1) กรุงธนบุรีเป็นราชธานีอยู่เพียงระยะเวลา 15 ปี ในช่วงนั้นอยู่ระหว่างการสร้างบ้านแปงเมือง แต่ก็ได้สร้างสรรค์ศิลปกรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนหนึ่ง พอสรุปได้ว่าศิลปกรรมกรุงธนบุรีนั้นถือเป็น “ศิลปกรรมเพื่อชีวิตและบ้านเมือง” ที่ยังคงขนบความเป็นไทยมีการพัฒนาให้แตกต่างออกไปก็ด้วยข้อจำกัดของเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ ทุนทรัพย์ ทำให้ผลงานมีความเรียบง่ายตรงไปตรงมา ได้รับแบบแผนจากสมัยกรุงศรีอยุธยา และส่งผลเชื่อมต่อเป็นฐาน ให้ศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ คำที่ใช้ในการเขียนสารานุกรมพบว่ามีศิลปกรรมทุกด้านแบ่งเป็น 7 ประเภท คือ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลป์และศิลปะประยุกต์ วรรรณกรรม ดนตรี นาฏศิลป์และการแสดง และศิลปะสมัยอื่น 2) หนังสือสารานุกรมมีการจัดเรียงคำที่เกี่ยวกับงานศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี โดยจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรไทย มีการเขียนเนื้อหาที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับเยาวชน โดยมีการเขียนคำ คือ ชื่องาน ความเป็นมา ชื่อผู้สร้างสรรค์ ลักษณะ คุณค่าทางความงาม และความไพเราะ การออกแบบหนังสือสารานุกรมมีรูปแบบการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน อ่านง่าย มีภาพประกอบเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว คำสำคัญยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ หนังสือสารานุกรมฯ นี้อ่านด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเผยแพร่ได้ในรูปแบบของ แผ่น CD, USB driveหรือดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์ 3) การศึกษาความพึงพอใจของเยาวชนในเขตธนบุรีต่อสารานุกรมศิลปกรรมสมัยธนบุรีฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม มีความพึงพอใจ ด้านเนื้อหาและรูปแบบอยู่ในระดับมาก
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1418
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก120.68 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ156.57 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ51.76 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ208.23 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1491.6 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 27.48 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3361.41 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 413.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5213.64 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม214.56 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก152.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.