Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมจินตนา, จิรายุ-
dc.contributor.authorJirayukul, Somjintana-
dc.contributor.authorวินัยธร, วิชัยดิษฐ์-
dc.contributor.authorWichaidit, Winaithon-
dc.contributor.authorวรรณภา, โพธิ์ผลิ-
dc.contributor.authorPhopli, Wannapa-
dc.date.accessioned2019-06-24T06:58:34Z-
dc.date.available2019-06-24T06:58:34Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1426-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการที่ดีและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง2)พัฒนากระบวนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วม3)จัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมกรณีศึกษาในวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมบดิน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจียระไนพลอย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรและวัตถุประสงค์ที่ 3 คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมของจิ๋ว เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่าสภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีองค์ความรู้ภูมิปัญญา มีคุณค่าความเชื่อด้านศาสนาและวิถีวัฒนธรรม มีเครือข่ายทางสังคม การดำเนินชีวิตเรียบง่ายยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการตามขั้นตอน1)ขั้นวางแผน2)ขั้นปฏิบัติการและสังเกตผล 3)ขั้นสะท้อนความคิดในการบริหารจัดการ เริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการ ศึกษาดูงานหลักเศรษฐกิจพอเพียงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเงิน ด้านการตลาด และร่วมสร้างทายาททางธุรกิจผลการพัฒนาด้านการผลิต กลุ่มขนมบดินได้พัฒนาเทคนิคการผลิตและการตกแต่งขนมให้สวยงามยิ่งขึ้นกลุ่มปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรได้พัฒนาปลาตะเพียนสานโดยใช้วัสดุอื่นๆและลวดลายที่สวยงาม โดยทั้งสองกลุ่มได้บรรจุผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ และได้พัฒนาระบบบัญชีอย่างมีระบบและต่อเนื่อง เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์และทายาททางธุรกิจทั้งสองกลุ่มได้ร่วมพัฒนาและสืบทอดกิจการของกลุ่มการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งสองกลุ่มได้รับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ มีการวางแผนวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ จัดอบรมให้ความรู้ ปฏิบัติการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ สร้างจุดเด่น ทัศนศิลป์อัตลักษณ์ สื่อสารเรื่องราว คุณค่าทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ลงในตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าขนมบดินและปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร ผลการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการตลาดผ่านทางโซเชียลมีเดียเฟสบุ๊ค แฟนเพจ โปรแกรมไลน์ และโปรแกรมไลน์ช็อป การติดต่อสื่อสาร สร้างภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า ผลการจัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีพบว่าศูนย์ฝึกอาชีพหัตถกรรมของจิ๋วมีการผลิตอยู่บนหลักการสำคัญ คือ มุ่งเน้นคุณภาพบูรณาการและสร้างสรรค์สร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม นวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นสื่อสิ่งพิมพ์และวีดิทัศน์มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และมีประโยชน์ แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนมีข้อเสนอในการพัฒนาโดยภาครัฐจัดพื้นที่ของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวและขายสินค้า การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในสื่อต่างๆ การจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง และการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนen_US
dc.subjectเศรษฐกิจชุมชนen_US
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectฝั่งธนบุรีen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.title.alternativeThe development of community enterprise management in Dhonburi district for enhancing the strength of sustainable community economy based on the philosophy od sufficency economyen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก112.02 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ170.8 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ112.62 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ254.28 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1286.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3756.24 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.69 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.1 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม305.48 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก294.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.