Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1459
Title: การประเมินความเปราะบางของพื้นที่โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Assessment Vulnerability of Area by Geographic Information system and Adaption to Climate Change in Ammarit Sub-district, Phak Hai District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: ธิติมา, เกตุแก้ว
Ketkeaw, Thitima
เอกรินทร์, ตั้งนิธิบุญ
Tungnitiboon, Eakrin
Keywords: ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์
การปรับตัว
สภาพภูมิอากาศ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเปราะบางของพื้นที่โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเพื่อหาแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษา คือ ตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประชุมกลุ่มย่อย รวมทั้งใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนที่น้ำท่วม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ตำบลอมฤต เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม โดยมีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าว มีปริมาณน้ำฝนในช่วงปี 2553 – 2559 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี อยู่ในช่วง 2.50 - 487.70 มิลลิเมตร และมีปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 122.33 มิลลิเมตร พื้นที่น้ำท่วมในอดีตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2550 – 2559) เฉลี่ย 66.32 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 27.35 ของพื้นที่ทั้งหมด และความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม อยู่ในระดับสูง เนื่องจากพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่ม โดยรับน้ำมาจากลุ่มน้ำน้ำพระยา เพื่อชะลอการไหลของน้ำเข้าสู่กรุงเทพมหานคร สำหรับการความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากว่าร้อยละ 65.3 ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง คือ อากาศร้อนขึ้น เกิดลมพายุบ่อยขึ้น และน้ำท่วม ซึ่งมี ผลกระทบต่อการเกษตรกรรม และผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทางในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในด้านการทำการเกษตรกรรม คือ ปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าว ปรับเปลี่ยนการปรับปรุงดิน ปรับเปลี่ยนปฏิทินทำนา จัดหา/จัดเก็บน้ำเพื่อทำนา ทำอาชีพเสริมในช่วงที่ไม่สามารถทำนาได้ และในด้านการดำรงชีวิต คือ เตรียมความพร้อม โดยติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เตรียมอุปกรณ์ในการรับมือ และเตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่มน้ำใช้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1459
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก68.14 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ88.47 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ63.24 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ110.46 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1177.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2469.28 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3122.87 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.07 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5216.18 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม183.47 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก143.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.