Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิธิภัทร, บาลศิริ-
dc.contributor.authorBalsiri, Nithipatara-
dc.date.accessioned2019-07-24T03:59:29Z-
dc.date.available2019-07-24T03:59:29Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1460-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนเกษตรกร 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และเปรียบเทียบกับประชาชนอาชีพอื่น 4) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชน 5) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 6) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร เขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร พื้นที่ที่ศึกษาคือ เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม และเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย คือ ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี จำนวน 1,759,964 คน กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประชาชน เกษตรกร นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการตลาดน้ำ ผู้ประกอบการตลาดธนบุรี ประธานชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติ t-test เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนในเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรีในอดีตเป็นสวนผักและสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์แต่ในปัจจุบันพื้นที่ฝั่งธนบุรีได้กลายเป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย บริษัท ร้านค้า และโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่สำหรับทำการเกษตรได้ลดลงไปอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีประชาชนบางส่วนที่ยังคงประกอบอาชีพการเกษตรอยู่ ได้แก่ สวนผักสวนครัว สวนกล้วยน้ำหว้า สวนกล้วยหอม สวนมะม่วง สวนกล้วยไม้ สวนผักปลอดสารพิษ แหล่งจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดบางสะพาน ตลาดนัดธนบุรี 2) ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม โอกาสเข้ารับการศึกษา สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ทางสังคม และการใช้เวลาว่าง การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนมีดังนี้ การให้คำปรึกษา การฝึกอบรม การศึกษาดูงานการสร้างสุขภาวะ การสร้างเครือข่ายทางสังคม การท่องเที่ยว 3) ประชาชนในเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรีมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก ด้านโอกาสเข้ารับการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้าน ความสัมพันธ์ในครอบครัว และด้านสุขภาพจิต ครอบครัวที่บิดามีอาชีพเกษตรกรมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก ครอบครัวที่บิดามีอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ พนักงานบริษัท ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ เกษตรกร เกษียณ ค้าขาย รับจ้าง และไม่ได้ทำงาน 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ การเสริมสร้างให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี การเสริมสร้างให้มีการศึกษาที่ดี การเสริมสร้างด้วยการให้บริการทางสังคมทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่ การเสริมสร้างให้มีงานทำ มีรายได้และมีสวัสดิการ 5) ทรัพยากรท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี ได้แก่ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำตลิ่งชัน สวนกล้วยไม้ ตลาดน้ำวัดตลิ่งชัน สวนผลไม้ วิถีชีวิตริมคลองลัดมะยม สวนไม้ดอกไม้ประดับ ตลาดน้ำวัดสะพาน ตลาดธนบุรี และสวนบัว 6) รูปแบบการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเกษตรกร มีดังนี้ การปลูกฝังจิตสำนึกรักอาชีพเกษตรกร การสร้างค่านิยมให้อาชีพเกษตรกรเป็ นอาชีพที่มีเกียรติและศักด์ิศรีในสังคม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำ การส่งเสริมการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ การส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ การจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตร การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร การจัดตั้ง ปรับปรุงลานกีฬาและส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การจัดตั้ง ปรับปรุงสวนหย่อม สวนสาธารณะในชุมชน หน่วยงานทางการศึกษาและวิชาการเกษตร สามารถเป็นที่พึ่งแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง การกำหนดนโยบาย แผนงานและโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์en_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectฝั่งธนบุรีen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของ เกษตรกร เขตฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe enhancing of Quality of life based on creative economy and local wisdom of farmers in thonburi area, Bangkoken_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก98.67 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ179.73 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ110.66 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ405.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1581.1 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.21 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3195.26 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 413.45 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5674 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม506.89 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.