Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเสาวนีย์, ปรัชญาเกรียงไกร-
dc.contributor.authorPrachayagringkai, Soawanee-
dc.contributor.authorฐัศแก้ว, ศรีสด-
dc.contributor.authorSrisod, Taskeow-
dc.date.accessioned2019-07-24T04:45:05Z-
dc.date.available2019-07-24T04:45:05Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1461-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก และข้อมูลผลิตภัณฑ์จากต้นจากของชุมชนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นจาก โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะของการวิจัยเพื่อ 1) จัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจากในชุมชน 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจากที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัย โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้นำหรือตัวแทนชุมชน และหัวหน้าหรือตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 31 คน การสำรวจข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกต้นจากแยกตามเขตพื้นที่การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น 5 เขต จำนวน 40 หมู่บ้าน การสำรวจข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแยกตามเขตพื้นที่การปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง จำนวน 41 กลุ่ม และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ โดยตัวแทนชุมชน และตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชุมชน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก ความต้องการข้อมูลในระบบ และการกำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของระบบ 2) แบบสำรวจข้อมูลพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกต้นจาก 3) แบบสำรวจข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์จากต้นจาก 4) จัดทำฐานข้อมูลด้วย MariaDB พัฒนาระบบด้วยโปรแกรมภาษา PHP จัดทำส่วนปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ด้วย JavaScript HTML5 และ เทคนิค Ajax ที่ทำให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น และประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล จำนวน 5 ท่าน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ 7 ขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ฐานข้อมูลประกอบด้วย ตารางข้อมูลทั้งหมด 36 ตารางข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั่วไป (พื้นที่เพาะปลูก ส่วนประกอบ) ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับต้นจาก ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก (ประโยชน์ที่ได้รับ ลักษณะการใช้ประโยชน์) ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลการตั้งร้านค้า ข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์ของชุมชน และข้อมูลการมอบสิทธิ์ให้อนุมัติรายการขายสินค้าชุมชน 2) ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลโดยการเพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา และตรวจสอบข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก การเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก และเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์จากต้นจากของชุมชน แบ่งการทำงานของผู้ใช้ออกเป็น 4 ส่วน คือ ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ให้ข้อมูล ผู้ฝากขาย และผู้ดูแลระบบ ทั้งนี้ผู้ใช้แต่ละส่วนจะมีการทำงานกับระบบแตกต่างกัน โดยเฉพาะการตั้งร้านค้าออนไลน์ระบบจะกำหนดให้ผู้ฝากขายต้องเป็นผู้ใช้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เท่านั้น นอกจากนี้ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในการใช้งานกับระบบอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านความพึงพอใจในการใช้งานระบบ รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการทำงานตามระบบของผู้ใช้งาน และน้อยที่สุดคือ ด้านการออกแบบการทำงานของระบบ จึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ การดำเนินงานต่อไปนักวิจัยมีความเห็นว่าหน่วยงานของรัฐควรให้การสนับสนุนชุมชนโดยการอบรมให้ความรู้กับคนในชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เกี่ยวกับการเพิ่มทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการดำเนินกิจการร้านค้าออนไลน์ และการจดทะเบียนร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้คนชุมชนได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการใช้ประโยชน์จากต้นจากen_US
dc.subjectต้นจากen_US
dc.subjectระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล,en_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจากen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Information Management System for Nipa palm Utilizationen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก76.48 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ169.21 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ66.73 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ298.97 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1275.53 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3511.06 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 46.94 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5333.41 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม144.67 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.