Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1466
Title: การพัฒนาต้นแบบระบบบำบัดน้ำแสงอาทิตย์
Other Titles: The development of solar water treatment prototype system
Authors: ชาญฉจิต, วรรณนุรักษ์
Wannurak, Chanchajit
Keywords: ระบบบำบัดน้ำ
พลังงานแสงอาทิตย์
ระบบบำบัดน้ำแสงอาทิตย์
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และสร้างเครื่องต้นแบบระบบบำบัดน้ำแสงอาทิตย์รวมถึงหาประสิทธิภาพการท้างานของเครื่องต้นแบบระบบบำบัดน้ำแสงอาทิตย์ ผลการออกแบบเครื่องต้นแบบระบบบำบัดน้ำแสงอาทิตย์ โดยออกแบบโครงสร้างฐานรองตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector มีขนาดกว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.50 เมตร สูง 127 เมตร ทำมุม 15 องศากับพื้นระนาบ ออกแบบตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ มีขนาดภายนอกของแผง 2 x 1 m2 ลึก 0.15 m ด้านล่างเป็นโฟมหนา 50 mm ทับด้วยฉนวนกั้นความร้อนและแผ่นสังกะสีพ่นด้วยสีดำปิดด้วยกระจกใส 4 mm ออกแบบท่อดูดรังสี (absorber plate) ทำด้วยท่อทองแดงขนาด 1/2 นิ้ว ยาว 2 m กว้าง 1 m จำนวน 30 ท่อ วางขนานห่างกันระยะห่าง 5 cm ต่อเข้ากับท่อทองแดงสำหรับน้ำเข้าและท่อน้ำออกขนาด 7/8 นิ้ว ทั้งสองด้านตามแนวตั้งต่อกันแบบขนาน จำนวน 2 ท่อ ออกแบบถัง เก็บความร้อนใช้เป็นถังน้ำแข็งเก็บความร้อนแบบสำเร็จรูปขนาด 40 ลิตร สูง 35 cm ถังพักน้ำ 1 ถัง และถังกรองขั้นต้น 1 ถัง ขนาด 20 ลิตร โดยออกแบบภายในถังกรองขั้นต้นบรรจุถ่านคาร์บอน, ซีโอไลท์และใยแก้ววางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผลการสร้างเครื่องต้นแบบระบบบำบัดน้ำแสงอาทิตย์โดยสร้างฐานวางตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector ใช้เหล็กมุมฉากตัดตามขนาดที่ได้ออกแบบไว้ กว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.50 เมตร สูง 127 เมตร ทำมุม 15 องศากับพื้นระนาบและประกอบเป็นโครงสร้างฐานวางตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector, สร้างท่อดูดรังสีโดยตัดและเชื่อมท่อทองแดงเข้าด้วยกันตามแบบขนาด 1/2 นิ้ว ยาว 2 m กว้าง 1 m จำนวน 30 ท่อ วางขนานห่างกันระยะห่าง 5 cm ต่อเข้ากับท่อทองแดงสำหรับน้ำเข้าและท่อน้ำออกขนาด 7/8 นิ้ว จำนวน 2 ท่อ ต่อกันแบบขนาน ลักษณะการวาง ในแนวยาวตามตัวเครื่อง จากนั้นนำแผ่นโฟม, ฉนวนกั้นความร้อน, แผ่นสังกะสี, ท่อดูดรังสีและกระจก มาประกอบเป็นตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector นำตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector วางบนฐานโครงสร้างพร้อมติดตั้งถังเก็บความร้อน ถังพักและถังกรองขั้นต้น ท้าการเจาะรูที่ถังเก็บความร้อน ถังพักและถังกรองขั้นต้น วัดขนาดระหว่างถังเก็บความร้อน ถังพัก ถังกรองขั้นต้นและตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector ตัดท่อประปาตามขนาดที่วัดได้ จากนั้นตัดขนาดของท่อประปาตามขนาดที่วัดได้ ต่อท่อประปาและใส่ก็อกน้ำตามแบบเพื่อเป็นจุดวัดอุณหภูมิของน้ำและทำการติดตั้งปั๊มน้ำขนาด 350 W ไว้ภายในถังเก็บน้ำร้อน ผลการวิจัยประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ Solar Collector (η) เฉลี่ยรวมอยู่ที่ 18.20% และประสิทธิภาพการบ้าบัดน้าเสียในการฆ่าเชื้อกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (อีโคไล) เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน คิดเป็น 99.98% และ 99.92% ตามล้าดับหรือมีประสิทธิภาพมากกว่า 80%
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1466
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก167.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ291.5 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ180.27 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ307.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1182.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2687.36 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.08 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4464.2 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5342.65 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม341.95 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.