Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1472
Title: ความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดน
Other Titles: Social Responsible of Media in Reporting News in the Era of Globalization
Authors: พัชราภา, เอื้ออมรวนิช
Euamornvanich, Patcharapa
Keywords: สื่อมวลชน
ข่าวสาร
ความรับผิดชอบต่อสังคม
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดน และเพื่อหาแนวทางการนำเสนอข่าวสารที่เหมาะสมของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้ทฤษฎีสื่อสารมวลชนว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร แนวคิดคุณค่าข่าว และแนวคิดจริยธรรมสื่อมวลชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการสื่อ สื่อมวลชน และผู้รับสาร รวมทั้งการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า ความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดนนั้น สื่อมวลชนพยายามรักษาความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสาร โดยคำนึงถึงความถูกต้อง และความรวดเร็ว โดยพยายามนำเสนอข่าวสารบนพื้นฐานทางจริยธรรมของสื่อ แต่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนนั้น ประกอบไปด้วย การแข่งขันกันของสื่อ การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ ระบบนายทุน เจ้าของสื่อ สปอนเซอร์ การตลาด รวมทั้งเพื่อความอยู่รอดของสื่อมวลชนเอง ที่มีส่วนทำให้สื่อมวลชนละเลยความรับผิดชอบด้านจริยธรรมอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งการควบคุมกันเองของสื่อมวลชนในปัจจุบัน พบว่าไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้การออกพระราชบัญญัติ การคุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนนั้น อาจจะไม่ใช้การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตรงประเด็นนัก โดยแนวทางในการนำเสนอข่าวที่เหมาะสมของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดนนั้น พบว่า สื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวสารภายใต้ความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล นำเสนอข่าวในเชิงลึกเพื่อแข่งขันกับสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงลึกได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม ซึ่งแนวทางที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้สื่อมวลชนคำนึงถึงความรับผิดชอบด้านจริยธรรมนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากสื่อมวลชนเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้รับสาร สื่อมวลชน และองค์กรภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง โดยต้องวางรากฐานทางการศึกษาให้กับคนในสังคม ปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับคนในสังคมเพื่อให้เปิดรับสื่อได้อย่างมีคุณภาพด้วย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1472
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก215.58 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ283.69 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ87.16 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ116.58 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1266.75 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.02 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3386.31 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5451.62 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม395.51 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก318.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.