Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนงเยาว์, อุทุมพร-
dc.contributor.authorUtoomporn, Nongyao-
dc.date.accessioned2019-07-25T07:20:33Z-
dc.date.available2019-07-25T07:20:33Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1476-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 23 คน ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องในอำเภอบางพลี จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) แหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางพลีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40-60 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาศัยอยู่ในตำบลบางโฉลงมากที่สุด ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่ สาขาที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากที่สุดคือ สาขาคหกรรมด้านอาหาร กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การเรียนรู้จากครูอาจารย์ และการรับการฝึกอบรม สำหรับกรรมวิธีในการผลิตก็จะไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) สภาพการนำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญามาใช้ มีทั้งการเชิญไปสอนที่สถานศึกษาและพานักเรียนไปศึกษาเรียนรู้ที่บ้านของผู้ทรงภูมิปัญญา และมีหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เชิญไปสอนทั้งในและนอกเวลาเรียน ปัญหาที่พบคือ การขาดงบประมาณสนับสนุน การย้ายภูมิลำเนาหรือปิดกิจการ การประสานงาน 3) แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้คือจัดทำเป็นทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของเว็บไซต์และการจัดทำเป็นเอกสาร ซีดี สื่อสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจัดให้มีงานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับควรมีนโยบายส่งเสริมหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษาอย่างจริงจัง และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในสื่อต่างๆen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการบริหารจัดการen_US
dc.subjectแหล่งการเรียนรู้en_US
dc.subjectหลักเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectสถานศึกษาen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeA Management of Community Learning Resources in Sufficiency Economy to integrate for sustainable learning management in the school, Bang Phli District, Samutprakran Provinceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก80.57 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ90.46 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ72.83 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ214.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1219.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2987.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3151.85 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4462.38 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5316.69 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม180.81 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.