Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1486
Title: การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าเพื่อใช้ในการศึกษาอย่างยั่งยืน
Other Titles: An Administration Management Learning Resources about Local Wisdom in Community at Old Chao Phraya River to Education Management Sustainable
Authors: ปรีชา, ธนะวิบูลย์
Thanawiboon, Preecha
นงเยาว์, อุทุมพร
Utoomporn, Nongyao
Keywords: แหล่งเรียนรู้
การมีส่วนร่วมของชุมชน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แม่น้ำเจ้าพระยา
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา ในชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า 2) ศึกษาศักยภาพและสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าเพื่อใช้ในการศึกษาอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล/กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 16 คน กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ของสำนักพัฒนาชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในเขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 61ปีขึ้นไปมากที่สุด จบการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา สาขาที่มีภูมิปัญญามากที่สุดคือ สาขางานประดิษฐ์ ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การเรียนรู้จากครูอาจารย์ และการรับการฝึกอบรม สำหรับกรรมวิธีในการผลิตก็จะไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) ศักยภาพของชุมชนในการนำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับสูงที่สุด คือ ชุมชนมีการวางแผนบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับสูงที่สุด คือ มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการนำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกันมีศักยภาพในการนำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกนั้นแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ 3) แนวทางในการนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาคือควรมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยตรงโดยจัดทำเป็นทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของเว็บไซต์และการจัดทำเป็นเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จัดงานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีงบประมาณและการติดตามประเมินผลเป็นระยะและผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับควรมีนโยบายส่งเสริมให้นำไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา สาระเพิ่มเติม เป็นต้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1486
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก85.25 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ86.58 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ72.92 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ162.85 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1187.57 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2928.4 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3214.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4717.23 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5412.94 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม180.58 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก17.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.