Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1488
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศึกษก, บันลือฤทธิ์-
dc.contributor.authorBanluelit, Siksaka-
dc.contributor.authorจิราภรณ์, กาญจนสุพรรณ-
dc.contributor.authorKanchanasuphan, Jiraporn-
dc.date.accessioned2019-07-30T07:59:07Z-
dc.date.available2019-07-30T07:59:07Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1488-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีจุดประสงค์การศึกษาดังนี้ 1) ศึกษาประเภทของเรือที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี 2) ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในฝั่งธนบุรี 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงเอกสารและจากการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของเรือที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี มีดังนี้ 1) เรือด่วน ประกอบด้วย เรือธรรมดา (ไม่มีธง) เรือด่วน (ธงส้ม) เรือด่วน (ธงเหลือง) เรือด่วน (ธงเขียว) เรือด่วนท่องเที่ยวเจ้าพระยา (ธงฟ้า) 2) เรือเช่าเหมาลำ ประกอบด้วย เรือแท็กซี่ เรือหางยาว เรือบัส ทั้งนี้มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี โดยมีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนและผู้ประกอบการทางเรือถึงวิธีการเตรียมความพร้อมของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการให้บริการทางเรือ และการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการถ่ายทอดประสบการณ์ในการประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวทางเรือ ซึ่งมีหน่วยงานที่คอยให้บริการอำนวยความสะดวก ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลการท่องเที่ยวด้วยกันหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทในการจัดระบบการท่องเที่ยว นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว คือ การบริการท่องเที่ยวย่านฝั่งธนบุรี การให้บริการทางเรือ การให้บริการทางถนน ร้านอาหารของที่ระลึก นวดแผนไทย สปา การอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่า ความปลอดภัยในการท่องเที่ยว สถานที่พักอาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความเหมาะสมของราคาต่อสถานที่ สินค้า และการบริการต่าง ๆ การอำนวยความสะดวกเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ไมตรีของผู้คนในท้องถิ่น และสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกที่จะมาท่องเที่ยวทางเรือในย่านธนบุรี จึงทำให้การท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการนำเที่ยวนั้น เป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญและให้ความสนใจต่อวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของประเทศไทยอีกด้วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectเรือen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectวัฒนธรรมen_US
dc.subjectธนบุรีen_US
dc.subjectลุ่มน้ำเจ้าพระยาen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleเรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeBoats on Cultural Tourism: a Case Study of the Chao Phraya River in Thonburi, Bangkoken_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก411.22 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ310.79 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ249.99 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ125.84 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1416.91 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2898.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3164.73 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.9 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5534.54 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม367.11 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก934.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.