Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1489
Title: การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
Other Titles: The study Activity by Project based Learning Method for Enhancing media Production skill in Computer education field
Authors: ญาณีรัตน์, หาญประเสริฐ
Harnprasert, Yanerat
Keywords: การเรียนการสอน
โครงงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
คอมพิวเตอร์ศึกษา
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรีและเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีจับฉลาก โดยเลือกนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา มา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐานและแบบทดสอบ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ได้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการ ผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีประสิทธิภาพจากประเมินค่าความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญโดยเฉลี่ย .80 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยแบบทดสอบพบว่าหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานเป็นฐานในการผลิตสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา 5 ขั้นตอนได้แก่ กำหนดประเด็นปัญหา/หัวข้อเรื่อง วางแผน ลงมือปฏิบัติ เขียนรายงาน และนำเสนอผลงาน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินความสอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นศึกษาความเป็นไปได้ ขั้นกำหนดหัวข้อ ขั้นดำเนินการสร้างชิ้นงานและทดสอบและขั้นนำเสนอผลงาน หลังการเรียนรู้ตามกระบวนการ พบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีความสามารถด้านทักษะกระบวนการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.93 แปลผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้พัฒนาทักษะในการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อนำไปต่อยอดในการประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ ต่อไปได้ในอนาคต
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1489
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก133.53 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ212.87 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ223.31 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ203.66 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1394.11 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2721.03 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3271.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4738.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5288.24 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม133.2 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.