Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1492
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัชกร, ภัทรพันปี-
dc.contributor.authorPhattaraphanpee, Thatchakorn-
dc.date.accessioned2019-07-30T08:59:58Z-
dc.date.available2019-07-30T08:59:58Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1492-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษากระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม (3) ศึกษาทางเลือกรูปแบบในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และ (4) เพื่อวิเคราะห์ทางเลือกรูปแบบในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสาหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและส่งเสริมอาชีพโดยตรงจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกำหนดค่าระดับคะแนนในการเปรียบเทียบรายคู่ และแบบแสดงความคิดเห็นปลายเปิด การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบรายคู่โดยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (analytic hierarchy process: AHP) และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญของกระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษา พบว่า เอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพหลัก เช่น อาชีพประมงน้ำจืด อาชีพการเกษตร เป็นต้น และ อาชีพรองจากอาชีพหลัก เช่น อาชีพประมงแปรรูป อาชีพเกษตรแปรรูป อาชีพทำอาหารคาว อาชีพทำอาหารหวาน และอาชีพศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ เป็นต้น ส่วนอาชีพทีทำเป็นส่วนน้อย เช่น อาชีพเครื่องแกงสำเร็จรูป และอาชีพหัตถกรรมจักสาน เป็นต้น ผลการศึกษากระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม พบว่า กลุ่มผู้บริหารปกครองท้องถิ่นให้ข้อมูลสำคัญในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพ ได้แก่ การมีนโยบายในสนับสนุนและส่งเสริมอาชีพชุมชนและอาชีพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เช่น การจัดประชุมร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสมาชิกกลุ่มอาชีพก่อนที่จะดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพ และกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมอาชีพดั้งเดิมในตำบลบางปลาลงในทุกกิจกรรมของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการบูรณาการกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น การทำให้กลุ่มอาชีพชุมชนมีความเข้มแข็ง เช่น ผู้นำกลุ่มอาชีพต้องมีศิลปะในการจูงใจให้สมาชิกได้ทำกิจกรรมได้อย่างมีความสุขโดยไม่ควรเน้นการมีรายได้จนเกินไป และสมาชิกในกลุ่มอาชีพมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมของกลุ่มเป็นอย่างดี เป็นต้น การมีวิธีการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสาหรับผู้สูงอายุ เช่น อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าชุมชน และส่งประกวดเพื่อสร้างการยอมรับกับสินค้านั้น และจัดกิจกรรมทางการตลาดเกี่ยวกับการซื้อการขายในรูปแบบใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มอาชีพสำหรับผู้สูงอายุตามความสมัครใจของพวกเขา เป็นต้น และรูปแบบการส่งเสริมที่ เหมาะสมกับอาชีพของกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น สร้างความเป็นเอกลักษณ์ชุมชนที่มีอาชีพเป็นตัวนำมีคุณภาพสินค้าและ สถานที่ ที่โดดเด่นเพื่อนำเสนอและรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีคนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการ และเป็น สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนและแหล่งการเรียนรู้อาชีพดั้งเดิมของชุมขนเพื่อเป็นกำลังใจกับกลุ่มอาชีพให้ดำรงอยู่และสืบทอดกันต่อไป เป็นต้น กลุ่มผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้ข้อมูลสำคัญในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการพัฒนา และส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพให้กับชุมขน เช่น จัดทำโครงการและจัดกิจกรรมนำร่องคัดเลือกเอกลักษณ์อาชีพใน ตำบลบางปลาเพื่อให้กลุ่มคนที่ทำอาชีพเช่นนี้อยู่มีความตื่นตัวและได้รับความสำคัญในอาชีพของพวกเขา และจัดทำ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (2) เป็นข้อมูลประวัติอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนบางปลาโดยผู้นำชุมชนเป็นผู้ที่รวบรวมและดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เป็นต้น การทำให้กลุ่มอาชีพชุมชนมีความเข้มแข็ง เช่น มีที่ขายสินค้าที่ชัดเจนและสินค้าเป็นที่รู้จักและมีลูกค้าเขามาซื้อหรือสั่งซื้อเป็นประจำทำให้มีรายได้แน่นอน และถอดบทเรียนเพื่อนำสิ่งที่ดีที่เด่นหรือกิจกรรมที่ได้จากการศึกษาดูงานมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่กลุ่มอาชีพมีหรือกิจกรรมของกลุ่มอาชีพที่ทำอยู่ เป็นต้น และรูปแบบ การส่งเสริมที่เหมาะสมกับอาชีพของกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้อาชีพชุมชนและมีรูปแบบกิจกรรมในการศึกษาดูงาน และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหรือทำเป็นตลาดน้ำที่มีกลุ่มอาชีพหรือผู้นำชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการ เป็นต้น กลุ่มผู้นำกลุ่มอาชีพ/สมาชิกกลุ่มอาชีพให้ข้อมูลสำคัญในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพ ได้แก่ปัญหาและอุปสรรคในการทำอาชีพและกลุ่มอาชีพ เช่น ขาดการส่งเสริมอาชีพอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริม และขาดการมีสถานที่หรือเวทีในการขายสินค้าชุมชนที่เป็นรูปธรรม เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพ เช่น ควรมีการบูรณาการหน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพให้มีกระบวนการส่งเสริมอาชีพร่วมกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และมีรูปแบบในส่งเสริมการขายหรือช่องทางในการขายที่เห็นได้ชัดและกลุ่มอาชีพสามารถนำสินค้าของตนไปขายได้ เป็นต้น และรูปแบบในการส่งเสริมที่เหมาะสมกับอาชีพของตน เช่น ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้และมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ให้คนเข้ามาซื้อสินค้าในชุมชน และบูรณาการรูปแบบในการส่งเสริมการขายสินค้าชุมชนให้กับสมาชิกในกลุ่มอาชีพได้เลือกช่องทางขายตามความถนัดของพวกเขา เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ทางเลือกรูปแบบในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสาหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา ได้แก่ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีน้ำหนักการความสำคัญมากที่สุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.49 รองลงมาตลาดนัดชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.19 และตลาดชุมชนหรือร้านค้าชุมชนน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.15 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ด้านภาพรวม เช่น กลุ่มเอกลักษณ์อาชีพที่อยู่ในชุมชนมีความตื่นตัวและมองเห็นโอกาสในการสร้างและเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพ และเกิดความสามัคคีของสมาชิกในกลุ่มอาชีพที่ร่วมแรงร่วมใจกันผลิตสินค้าของตน เป็นต้น ด้านการมีรายได้ของกลุ่มอาชีพ พบว่า มีรายได้รวมมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มอาชีพทำแกงส้ม แกงส้มสำเร็จรูป ขนมเบื้องญวน ขนมจีบ มะตะบะ รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอาชีพแปรรูปปลาสลิด และกลุ่มอาชีพทำขนมกง ด้านความพร้อมของกลุ่มอาชีพ เช่น มีความร่วมมือร่วมใจกันให้การบริการและต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเป็นกันเอง และมีผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนที่หลากหลายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น ด้านข้อเสนอแนะ เช่น ควรมีกิจกรรมย่อยนอกจากการชมการผลิตเพื่อให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ และควรมีการทำแพคเกจจิ้งที่น่าสนใจเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectกระบวนการส่งเสริมอาชีพen_US
dc.subjectกลุ่มผู้สูงอายุen_US
dc.subjectสมุทรปราการen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleกระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตาบลบางปลา อาเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeThe process on promote the elderly indentify occupation group in Tumbol Bangpla Bangplee district Samutphakarn provinceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก189.78 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ404.86 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ182.15 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ472.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1413.08 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.63 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3488.72 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4764.77 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5893.34 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม460.21 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก9.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.