Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1498
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมานิตย์, กุศลคุ้ม-
dc.contributor.authorGusonkoom, Manit-
dc.date.accessioned2019-08-16T06:56:03Z-
dc.date.available2019-08-16T06:56:03Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1498-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษาระดับจิตสำนึกในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการและระดับความคิดเห็นของอาจารย์ผู้รับบริการต่อจิตสำนึกในการให้บริการ ของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ อีกทั้งมุ่งศึกษาแนวทางในการสร้างจิตสำนึกในการให้บริการของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มประชากรที่ใช้ ในการศึกษา จำนวน 509 คน ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างประชากร จำนวน 229 คน ใช้วิธีการ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ,ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีดังนี้ ประการที่ 1 ระดับจิตสำนึกในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ พบว่า ในภาพรวมมีระดับจิตสำนึก อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06) เมื่อพิจารณาประเด็น ที่มีระดับจิตสำนึกมากที่สุด คือด้านมิตรภาพ การยิ้มแย้มแจ่มใส มีระดับจิตสำนึก อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47) รองลงมาคือด้านความพร้อมของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ในการให้บริการ และด้านความอดทนอดกลั่น (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) และลำดับที่มีระดับจิตสำนึกน้อยที่สุด คือด้านการมีใจใฝ่บริการ มีระดับจิตสำนึก อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34) ประการที่ 2 ระดับความคิดเห็นของอาจารย์ผู้รับบริการต่อจิตสำนึกในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ พบว่า ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16) เมื่อพิจารณาประเด็น ที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือด้านการบริการที่ดี มีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25) รองลงมาคือด้านตระหนักถึงคุณค่า ในงานบริการ และด้านความอดทนอดกลั่น (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) และลำดับที่มีระดับความคิดเห็น น้อยที่สุด คือด้านการมีใจใฝ่บริการ มีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83) ประการที่ 3 ข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างจิตสำนึกในการให้บริการของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พบว่า (1) จัดอบรมการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการโดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการมาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการให้บริการและสร้างความเข้าใจถึงคุณค่าของงานให้บริการในหน่วยงาน (2) จัดให้มีการประกวดแข่งขันหน่วยงานให้บริการดีเด่นโดยการมอบรางวัลแก่หน่วยงานเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการพัฒนางานด้านการให้บริการ ระหว่างหน่วยงานโดยมอบโล่รางวัลแก่หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นโดยวัดจากการประเมินด้านต่างๆของหน่วยงานให้บริการ (คิดเป็นร้อยละ 100)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectจิตสำนึกen_US
dc.subjectการให้บริการen_US
dc.subjectบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.titleการศึกษาจิตสำนึกในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Investigation of Service Mind of Academic Supporting Personnel at Dhonburi Rajabhat Universityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก208.13 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ106.9 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ54.12 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ111.21 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1182.22 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.01 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3212.81 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4461.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5344.84 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม141.18 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก399.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.