Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวาสิณี, จิรสิริ-
dc.contributor.authorJirasiri, Wasinee-
dc.contributor.authorธีรนันท์, ธีระธนากร-
dc.contributor.authorTherathanakorn, Teeranun-
dc.date.accessioned2019-08-16T07:03:14Z-
dc.date.available2019-08-16T07:03:14Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1499-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์โดยมี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ที่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 320 คน ได้มาจากสูตรคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อศึกษาความสามารถทักษะการคิดวิเคราะห์ที่คณะผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้นมาเอง โดยใช้แนวคิดการคิดวิเคราะห์ของบลูมมาเป็นกรอบแนวคิด (Bloom’s Taxonomy) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequence) ร้อยละ (Percentage) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเดี่ยว (Simple Correlation) ผลการวิจัยพบว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ อยู่ในระดับทั่วไป คือช่วงคะแนนมาตรฐาน 6 – 8 คะแนน จำนวน 183 คน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้านเพศที่ส่งผลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ พบว่า เพศหญิง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้านสาขาวิชาที่ส่งผลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ พบว่า สาขาวิชาที่มีระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์ความสำคัญเชิงบวกระดับสูง ได้แก่ ภาษาไทย พระพุทธศาสนา การศึกษาปฐมวัย นาฏศิลป์ และเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ สาขาที่มีระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง ได้แก่ คณิตศาสตร์ การศึกษาปฐมวัย วิทยาศาสตร์ทั่วไป และคอมพิวเตอร์ และระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์หลักการเชิงบวกระดับสูง ได้แก่ สังคมศึกษา และคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้านมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์ความสำคัญเชิงบวกในระดับสูง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง ได้แก่ มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการวิเคราะห์หลักการเชิงบวกระดับสูง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการคิดวิเคราะห์en_US
dc.subjectปริญญาตรีen_US
dc.subjectคณะครุศาสตร์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์en_US
dc.title.alternativeThe study of analytical thinking skill of undergraduate student in faculty of Education for Rattanakosin Rajabhat Universityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก74.38 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ96.43 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ56.65 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ115.48 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1172.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2810.23 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3162.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4361.72 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5214.87 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม131.98 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.