Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1566
Title: ความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการสหกรณ์การเกษตรเกาะงุน-กะทิง จำกัดของเกษตรกรในอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
Other Titles: The importance of the service marketing mix and its effect on customer behavior in the Khongun-Kating Agriculture Cooperative, Nathawee district, Songkhla province
Authors: ฉัตรชฎา, วิศพันธุ์
Vispun, Chatchada
วาสนา, สุวรรณวิจิตร
Suwanvijit, Wassana
อนุวัต, สงสม
Songsom, Anuwat
Keywords: การตลาด
สหกรณ์การเกษตร
ส่วนประสมการตลาด
พฤติกรรมการใช้บริการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: Jul-2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เปรียบเทียบความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการของผู้ใช้บริการสหกรณ์การเกษตรเกาะงุน-กะทิง จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกรในอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา 2)เปรียบเทียบความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการของผู้ใช้บริการสหกรณ์การเกษตรเกาะงุน-กะทิง จำกัด โดยจำแนกตามพฤติกรรมการใช้บริการของเกษตรกรใน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกรใน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลากับพฤติกรรมการใช้บริการใช้บริการสหกรณ์การเกษตรเกาะงุน-กะทิง จำกัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 100 คน มีการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที แบบกลุ่มอิสระ การทดสอบเอฟและไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ ที่อยู่ โดยภาพรวมในแต่ละด้านแตกต่างกันมีส่วนประสมการตลาดบริการเลือกใช้บริการทุกด้านไม่แตกต่างกัน และส่วนประสมการตลาดบริการโดยจำแนกตามพฤติกรรมการใช้บริการ ได้แก่ ประเภทที่เลือกใช้บริการ ช่วงเวลาในการใช้บริการ จำนวนครั้งในการใช้บริการ วันที่สะดวกมาใช้บริการ ช่วงเวลาเฉลี่ยต่อครั้งในการใช้บริการ เหตุผลที่เลือกใช้บริการ วัตถุประสงค์หลักที่เลือกใช้บริการ ความสำคัญในการใช้บริการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประเภทสินเชื่อ(การกู้ยืมเงิน)ในการใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมในการใช้บริการแตกต่างกันให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดบริการไม่แตกต่างกัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการพบว่า เพศ อายุ สถานภาพการสมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1566
https://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=405&jn_id=27
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.