Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1615
Title: แนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines for developing the competencies of teachers in secondary schools in Bangkok
Authors: นิภาภรณ์, คำเจริญ
Khamcharoen, Nipaporn
Keywords: สมรรถภาพ
ครู
โรงเรียนมัธยมศึกษา
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถภาพตามพันธกิจและวิธีการพัฒนาสมรรถภาพของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถภาพตามพันธกิจของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพตามพันธกิจของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ครูในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพตามพันธกิจของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.00) เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพตามพันธกิจของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความรู้ในเนื้อหารายวิชาที่สอน ค่าเฉลี่ย 4.40 รองลงมาคือ ยอมรับฟังความคิดและเหตุผลของผู้อื่น ค่าเฉลี่ย 4.39 มีทักษะในการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน และครูกับครู ค่าเฉลี่ย 4.29 และสามารถให้คำปรึกษาด้านการใช้ชีวิต และการศึกษาต่อกับนักเรียนได้ ค่าเฉลี่ย 4.26 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสมรรถภาพตามพันธกิจของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ โดยมีจำนวนตัวแปรทั้งสิ้น 52 ตัวแปร คือ ด้านการบริการวิชาการและการวิจัย จำนวน 20 ตัวแปร ตัวแปรที่สามารถอธิบายด้านการบริการวิชาการและการวิจัยสูงสุด ได้แก่ มีความเป็นผู้นำในการบริการวิชาการ ด้านการสอน จำนวน 10 ตัวแปร พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายด้านการสอนสูงสุด ได้แก่ สามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่ยากซับซ้อนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้านการพัฒนาชุมชน จำนวน 9 ตัวแปร พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายด้านการพัฒนาชุมชนสูงสุด ได้แก่ มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องที่จะถ่ายทอดต่อชุมชน ด้านการดูแลนักเรียน จำนวน 8 ตัวแปร พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายด้านการดูแลนักเรียนสูงสุด ได้แก่ ยอมรับฟังความคิดและเหตุผลของผู้อื่น และด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จำนวน 5 ตัวแปร พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสูงสุด ได้แก่ สามารถออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1615
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก76.61 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ96.59 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ71.57 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ131.99 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1161.8 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.28 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3226.24 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4806.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5273 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม161.14 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก441.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.