Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1619
Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครปฐม
Other Titles: The participation of the community to develop sustainable eco-tourism potential of the province of NakhonPathom
Authors: พิมพงา, เพ็งนาเรนทร์
Pimpanga, Phangnarean
Keywords: การมีส่วนร่วมของชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครปฐมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่มีต่อศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดนครปฐม 2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดนครปฐมโดยการจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค3) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืนวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น2 ลักษณะ คือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวกจากประชาชนในชุมชนทั้ง 2 พื้นที่ จำนวน316คน โดยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการร้านค้าที่อยู่ในชุมชนคลองจินดาและคลองมหาสวัสดิ์พื้นที่ละ 5 คน รวมทั้งหมด 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครปฐมโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการดำเนินงาน ด้านติดตามและประเมินผล ด้านการวางแผน ด้านปัญหา ตามลำดับ 2. ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดนครปฐมโดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านได้ผลดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์จุดแข็งในระดับมาก คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครและมีเส้นทางคมนาคมรองรับหลายสายจึงสะดวกต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวการวิเคราะห์จุดอ่อน คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนที่ขาดความพร้อมด้านงบประมาณและความรู้เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวทำให้ต้องรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐเป็นหลักการวิเคราะห์โอกาส คือระบบสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยในปัจจุบันเป็นทางเลือกของแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการตลาดน้ำได้เช่นการจัดทำเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของการท่องเที่ยวชุมชน และวิเคราะห์อุปสรรค คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนมีปัญหาด้านการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยว 3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืนชุมชนมีความคิดเห็นโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากและผลจากการศึกษามีดังนี้ 1) คลองมหาสวัสดิ์ ควรสร้างความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับอัตลักษณ์ของชุมชน ควรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งสองฝั่งคลองมหาสวัสดิ์จากหน่วยงานภาครัฐที่ชัดเจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตลาดเพิ่มมากขึ้น 2) คลองจินดา ควรสร้างเครือข่ายระหว่างชาวบ้านกับองค์การบริการส่วนตำบลคลองจินดาในการพัฒนาการท่องเที่ยวควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรเพิ่มป้ายบอกทางให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวหลงทางและเกิดเปลี่ยนใจไม่ไปเที่ยวตลาดน้ำแห่งนี้ได้ ควรมีกิจกรรมและรูปแบบจากการท่องเที่ยวยังไม่มีความหลากหลาย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1619
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก72.08 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ119.86 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ55.72 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ115.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1191.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2797.21 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3177.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5259.86 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม133.71 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก159.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.