Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1621
Title: ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) ของชุมชนพูนบำเพ็ญ แขวงภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Community role model for solid waste management according to zero waste by participation of Punbumpen community Phasi Charoen District, Bangkok.
Authors: เอกรินทร์, ตั้งนิธิบุญ
ธิติมา, เกตุแก้ว
Tungnitiboon, Eakrin
Ketkaew, Thitima
Keywords: ขยะมูลฝอย
แนวคิดขยะเหลือศูนย์
การจัดการขยะมูลฝอย
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) 2) สร้างรูปแบบชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนพูนบำเพ็ญ และ3) สร้างสื่อดิจิทัลสำหรับชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษา คือ ชุมชนพูนบำเพ็ญ แขวงภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประชุมระดมความคิดเห็น รวมทั้งใช้สื่อดิจิทัลในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนในชุมชนพูนบำเพ็ญส่วนใหญ่ยังไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอย ซึ่งขยะที่พบส่วนใหญ่เป็นขวดพลาสติก เศษอาหาร เศษใบไม้ กิ่งไม้ ขวดแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม และเศษผ้า การทิ้งขยะมูลฝอยของประชาชนชนในชุมชน จะทิ้งในถังขยะที่ทางสำนักงานเขตตั้งไว้เป็นจุดๆ ในชุมชน โดยจะทำการเก็บขนขยะมูลฝอยในวันพุธ และวันเสาร์ จากการประชุมชุมชนเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) พบว่าชุมชนมีความต้องการที่จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ zero waste ชุมชนพูนบำเพ็ญ เพื่อเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ที่เน้นการให้ความรู้แก่ผู้เรียนรู้ให้เข้าใจถึงหลักการลดปริมาณและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย โดยมีแผนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วางกระบวนการ 2) พัฒนาสภาพแวดล้อม และ 3) พัฒนาสื่อเรียนรู้และเสริมประสบการณ์ ซึ่งรูปแบบชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ zero waste ชุมชนพูนบำเพ็ญ มีสถานีการเรียนรู้ จำนวน 5 สถานี ประกอบด้วย 1) ธนาคารขยะ 2) ดินอินทรีย์ 3) มหัศจรรย์มูลไส้เดือน 4) กลุ่มเกษตรคนเมือง และ 5) ร้านค้าเกษตรคนเมือง และทำการพัฒนาสื่อดิจิทัลขึ้นมา อยู่ในรูปแบบวีดิทัศน์ (Video) โดยนำเสนอเนื้อหาขั้นตอนในแต่ละสถานีเรียนรู้ที่มีประโยชน์บนสื่อดิจิทัลให้เข้าถึงได้ง่าย และทำการสร้างคิวอาร์โค้ด (QR code) เพื่อสามารถแสดงผลการบนโทรศัพท์มือถือได้โดยตรง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1621
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก130.29 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ114.46 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ84.64 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ204.3 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1221.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2632.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3191.53 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.43 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5230.44 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม179.85 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก267.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.