Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1662
Title: การแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
Other Titles: Lexical Variations in Usage of Tak-Bai (Je-Hay) Dialect Verbs in Different Age Groups of Speakers in Je-Hay Sub-district, Tak-Bai District, Narathiwat Province
Authors: วาริด, เจริญราษฏร์
Charoenrad, Warid
Keywords: คำกริยา
ภาษาตากใบ
การแปรคำศัพท์
นราธิวาส
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: Jan-2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา และ 2) วิเคราะห์แนวโน้มการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา ประชากรในการวิจัยได้แก่ผู้ใช้ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) เป็นภาษาแม่ ในหมู่บ้านเจ๊ะเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นสามระดับอายุ ระดับอายุละ 10 คน รวมเป็น 30 คน ได้แก่ ระดับช่วงอายุที่ 1 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ 35-50 ปี และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก 10-25 ปี โดยใช้หมวดคำกริยา จำนวน 100 หน่วย อรรถเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะการแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา มี 5 ลักษณะ ดังนี้ หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับอายุใช้เหมือนกัน ซึ่งศัพท์ที่ใช้เป็นคำศัพท์เก่าทั้งหมด พบจำนวน 11 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 1 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ และระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ใช้ศัพท์เก่าเหมือนกัน พบจำนวน 44 หน่วยอรรถ,หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก ใช้ศัพท์เก่าและศัพท์ใหม่เหมือนกัน จำนวน 38 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับอายุใช้ศัพท์แตกต่างกัน พบจำนวน 5 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับช่วงอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก ใช้ศัพท์ใหม่เหมือนกัน พบจำนวน 3 หน่วยอรรถ 2) แนวโน้มการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษาคือ มีศัพท์ที่มีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะกลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับอายุยังคงใช้ศัพท์เก่าเหมือนกัน, มีศัพท์ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะปัจจุบันผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก มีการนำศัพท์ใหม่มาใช้ร่วมหรือใช้แทนศัพท์เก่า, มีศัพท์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก ได้นำศัพท์ใหม่มาใช้แทนศัพท์เก่า
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1662
https://o-journal.dru.ac.th//index.php?url=abstract.php&abs_id=641&jn_id=32
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Article 2.pdfArticle443.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.