Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1663
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรศิริ, กองนวล-
dc.contributor.authorkongnual, Pornsiri-
dc.contributor.authorสุชาดา, ธโนภานุวัฒน์-
dc.contributor.authorTanopanuwat, Suchada-
dc.contributor.authorวิไล, ตั้งจิตสมคิด-
dc.contributor.authorTangchitsomkit, Wilai-
dc.date.accessioned2020-11-24T03:48:33Z-
dc.date.available2020-11-24T03:48:33Z-
dc.date.issued2020-01-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1663-
dc.identifier.urihttps://o-journal.dru.ac.th//index.php?url=abstract.php&abs_id=642&jn_id=32en_US
dc.description.abstractการพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ (1) ผู้นำชุมชน ประกอบด้วย ประธานแขวง ประธานชุมชน/ผู้แทนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แขวง 44 ชุมชน (2) ผู้สูงอายุในชุมชน (3) ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ (1) ประเด็นที่ใช้ในการสนทนา (2) แบบสำรวจการพัฒนาอารยสถาปัตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (3) แบบประเมินความพึงพอใจ/ความเหมาะสมที่มีต่ออารยสถาปัตย์การดำเนินการวิจัยและการพัฒนา มีดังนี้ (1) ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับผู้สูงอายุ มีขั้นตอนดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง 1.2 จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) (2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาอารยสถาปัตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร” มีขั้นตอนดังนี้ 2.1 ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัย 2.2 บรรยายให้ความรู้ 2.3 สำรวจความต้องการ 2.4 เลือกสถานที่ดำเนินการพัฒนา (3) ประสานเจ้าของ/ผ้ดูแลพื้นที่ (4) การพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับผู้สููงอายุ มีขั้นตอนดังนี้ 4.1 ผู้วิจัยและสถาปนิกร่วมกับประธานชุมชน/ผู้แทนลงพื้นที่ภาคสนาม 4.2 ผู้วิจัยและสถาปนิกออกแบบ 4.3 ดำเนินการพัฒนา (5) ศึกษาความพึงพอใจ/ความเหมาะสม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ (1) ความถี่และร้อยละ (2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis and Synthesis) ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีการดำเนินการ 7 ขั้น ดังนี้ 1. ขั้นให้ความรู้ 2. ขั้นศึกษาความต้องการของชุมชน 3. ขั้นประเมินความเป็นไปได้ 4. ขั้นการขออนุญาตและประสานเจ้าของ/ผู้ดูแลสถานที่ 5. ขั้นออกแบบ 6. ขั้นดำเนินการ 7. ขั้นการประเมินผลการศึกษา พบว่าส่วนมากต้องการพัฒนาห้องน้ำ โดยการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องสุขภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ดำเนินการ ตามหลักอารยสถาปัตย์ 6 ประการ คือ 1) ทุกคนใช้ได้ เท่าเทียมกัน (Equitable Use) 2) ใช้งานง่าย (Simple and Intuitive Use) 3) การสื่อความหมายเข้าใจง่าย (Perceptible) 4) การออกแบบที่เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดได้ (Tolerance for Error) 5) ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort) 6) ขนาดและพื้นที่ เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้งาน (Size and Space for Approach) ในพื้นที่ 7 แขวง คือ (1) แขวงตลาดพลู ชุมชนวัดกันตทาราราม (2) แขวงบางยี่เรือ ชุมชนตากสินสัมพันธ์ (3) แขวงดาวคะนอง ชุมชนวัดดาวคะนอง (4) แขวงหิรัญรูจี ชุมชนวัดบางไส้ไก่ (5) แขวงบุคคโล ชุมชนวัดกระจับพินิจ (6) แขวงสำเหร่ ชุมชนวัดบางน้ำชน (7) แขวงวัดกัลยาณ์ ได้แก่ ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนโรงคราม ซึ่งดำเนินการพัฒนาทางเดิน มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาอารยสถาปัตย์ โดยภาพรวมในระดับมาก (X = 4.00)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectอารยสถาปัตย์en_US
dc.subjectธนบุรีen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรีี กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Universal Design for the Elders' Quality of Life Improvement in Communities in Thon Buri District, Bangkoken_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Article 3.pdfArticle464.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.