Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1665
Title: กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร
Other Titles: Academic Administration Strategies for Lower Secondary School Students in Educational Opportunity Expansion Schools, Kamphaeng Phet Province
Authors: สุนิรันดร์, รุ่งเรืองรณชัย
Rungrueangronnachai, Suniran
ภูมิพิพัฒน์, รักพรมงคล
Rukponmongkol, Poompipat
Keywords: การบริหารงานวิชาการ
การศึกษา
การขยายโอกาสทางการศึกษา
กำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: Jan-2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยการประชุมปฏิบัติการ (Work Shop) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยแห่งความสำเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชรโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินงานตามขอบข่ายของงานวิชาการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) การคัดเลือกหนังสือแบบเรียน เพื่อใช้ในสถานศึกษา 3) การวางแผนงานด้านวิชาการ 4) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 5) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 6) การวัดประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และ 7) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ตามลำดับ 2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการ พบว่า มีปัญหาการดำเนินงานตามขอบข่าย ของงานวิชาการ ดังนี้ 1) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 2) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ 3) การแนะแนว 4) การพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น 5) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 6) การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา และ 7) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ตามลำดับ 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และการบริหารจัดการ ตามลำดับ 4. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนงานวิชาการ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากระบวนการจัดทำแผนงานวิชาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม กลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงระบบโครงสร้างการบริหารงานวิชาการ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาวิชาการ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนางานแนะแนวเพื่อสร้างเสริมค่านิยมรักการเรียน กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ 7 ปรับปรุงเครือข่ายการพัฒนางานวิชาการ กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานวิชาการ และกลยุทธ์ที่ 9 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 5. การประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ พบว่า มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1665
https://o-journal.dru.ac.th//index.php?url=abstract.php&abs_id=644&jn_id=32
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Article 5.pdfบทความ437.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.