Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1677
Title: | การจัดการค่ายพักแรมสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว |
Other Titles: | Camp management for people with physical disability |
Authors: | นุสรา, แสวงสุข ประพัฒน์, เขียวประภัสสร Sawangsuk, Nuchara Keawprapassorn, Prapat |
Keywords: | การจัดการ ค่ายพักแรม ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 39 ฉบับ 4 |
Citation: | วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 39 ฉบับ 4 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัญหาของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในการเข้าค่ายพักแรม 2) เพื่อศึกษาการจัดการค่ายพักแรมสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้พิการทางการเคลื่อ นไหวที่มีประสบการณ์ในการเข้าค่ายพักแรม นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ภาคเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวทางการสนทนากลุ่ม (focus group) ประเด็นในการจัดสนทนา ได้แ ก่ อุปสรรคและปัญหาในการเข้า ร่วมค่ายพักแรม และแบบสอบถามสำหรับการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวนทั้งสิ้น 3 รอบ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามรอบที่ 3 โดยหาค่ามัธยฐาน (Median: Md) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล ์ (Interquartile Range: IR) และค่าสมบรูณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับฐานนิยม (IMd-MoI) ซึ่งกำหนดว่าข้อความที่นำไปใช้เป็นการจัดการค่ายพักแรมสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ต้องมีค่ามัธยฐานมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 มีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 และมีค่าสัมบูรณ์ ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า อุปสรรคและปัญหาของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในการเข้าค่ายพักแรม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ อุปสรรคและปัญหาที่พบคือ สถานที่ไม่เอื้ออำนวย โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการไม่เพียงพอหรือไม่พร้อมรองรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และ 2) ด้านการบริหารค่ายพักแรม อุปสรรคและปัญหาที่พบคือ ด้านการวางแผน การจัดระเบียบค่ายพักแรม การบริหารงานบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริหารจัดการอุปกรณ์ การบริหารกิจกรรม และการประเมินผล การจัดการค่ายพักแรมสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน กล่าวคือ ควรมีก ารวางแผนงาน วางแผนบุคลากร และวางแผนการจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานค่ายพักแรม 2) ด้านการจัดองค์กร ควรมีโครงสร้างบุคลากรในการบริหารและสายงานการปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น ฝ่ายต่าง ๆ คือ ผู้อำนวยการค่าย เลขานุการ ฝ่ายกิจกรรมวิชาการ ฝ่ายกิจกรรมนันทนาการ ฝ่ายสนับสนุนและบริการ ฝ่ายพี่เลี้ยงหรือผู้ช่วยเหลือ และฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงาน 3) ด้านการจัดบุคลากร ควรฝึกอบรมบุคลากรค่ายเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว รวมถึง มีระบบพี่เลี้ยงที่คอยดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว 4) ด้านการสั่งการ ควรมีสายการบังคับบัญชาที่สั้นและไม่ซ้ำซ้อน มีการสร้างรางวัลจูงใจให้กับบุคลากรที่สามารถดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวได้ และมีการกำหนดมาตรฐานและเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และ 5) ด้านการควบคุม ควรมีการประเมินมาตรฐานของการบริหารจัดการค่ายพักแรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมติดตามผล ประเมินผลค่ายพักแรมทุกครั้ง และประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และการสนับสนุนต่าง ๆ |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1677 |
Appears in Collections: | Article Other University บทความมหาวิทยาลัยอื่น |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
บทความวิจัยอ.นุชรา.pdf | บทความ | 495.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.