Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1678
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทิมา, ชุวานนท์-
dc.contributor.authorChuwarnond, Chantima-
dc.contributor.authorธนวรรณ, มั่นอ่วม-
dc.contributor.authorManuam, Tanawan-
dc.date.accessioned2021-08-24T06:01:25Z-
dc.date.available2021-08-24T06:01:25Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1678-
dc.description.abstractปัจจุบันการวิจัยมีความสำคัญและนำมาใช้ประโยชน์ในทุกศาสตร์ รายวิชาวิธีวิจัยจึงถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรของสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ประกอบกับมหาวิทยาลัยมีมาตรการในภาวะวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิดให้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยเรื่อง “การใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชาวิธีการวิจัยสำหรับนักศึกษาภาษาอังกฤษธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี” ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชาวิธีการวิจัยสำหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) เจตคติของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนอีเลิร์นนิงและการเรียนแบบผสมผสานรายวิชาวิธีการวิจัย 3) แนวทางในการพัฒนาการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชาวิธีการวิจัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามเจตคติของนักศึกษาต่อสื่อและการเรียนแบบผสมผสานซึ่งมีค่า IOC 0.86 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาให้เวลากับการเรียนรายวิชานี้ในชั้นเรียนปกติและเสมือนจริง 4 คาบเรียน(ชั่วโมง)ต่อสัปดาห์ และเรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิงจากโปรแกรม MOODLE โดยอิสระเฉลี่ย 1.62 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ผลการสอบในระบบออนไลน์กลางภาคเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 54.35 และปลายภาคเรียนร้อยละ 71.46 นักศึกษาผลิตงานวิจัยกลุ่มรวม 6 เรื่อง ทำให้เห็นว่านักศึกษาได้เรียนรู้ และใช้เวลาในการเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบผสมผสานอย่างได้ผลดี 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์และการเรียนแบบผสมผสานในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีระดับมากที่สุด 2 ประเด็น คือ เนื้อหาในบทเรียนออนไลน์ครอบคลุมหัวข้อที่ระบุในคำอธิบายรายวิชา (µ=4.61SD=0.62) เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำเสนอ (µ=4.58 SD=0.56) การที่นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อรายวิชา วิธีการสอน และผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนทั้งหมดที่ผู้เรียนทำได้ 3) แนวทางในการพัฒนาการเรียนแบบผสมผสานรายวิชาวิธีการวิจัย นักศึกษาพึงพอใจการเรียนแบบผสมผสานมากและต้องการให้ทำต่อไป เนื้อหาในบทเรียนอีเลิร์นนิงและแบบทดสอบควรมีภาษาไทยมากขึ้นด้วยเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น และปรับปรุงระบบอีเลิร์นนิงให้ทำงานได้ราบรื่นทั้งในการเรียนและสอบ ในภาวะวิกฤตการณ์โรคระบาดปัจจุบันการเรียนแบบผสมผสานพร้อมด้วยระบบอีเลิร์นนิงช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ตามเวลาที่สะดวกทำให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้ทั้งกับผู้สอนและรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองผ่านสื่ออีเลิร์นนิง วิธีการเรียนแบบผสมผสานนี้จะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้วิธีวิจัยมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการเรียนแบบผสมผสานen_US
dc.subjectอีเลิร์นนิงen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษธุรกิจen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชาวิธีการวิจัย สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.title.alternativeUsing Blended Learning Method in the Course of Research Methods for Business English Students at Dhonburi Rajabhat Universityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก99.59 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ293.51 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ264.42 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ281.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1430.63 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2850.87 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3465.85 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4539.87 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5394.28 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม383.17 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.