Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1692
Title: รูปแบบการถ่ายทอดวัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเชื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่มีผลต่อการเกื้อกูลกันในชุมชน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Transfer Pattern of Culture, Customs, Belief of Birth, Old Age, Sickness and Death Effected the Mutual Support in the Community of Wat Kalaya District, Thonburi Amphur, Bangkok Metropolitan
Authors: วงศกร, เพิ่มผล
Poempol, Wongsakorn
Keywords: การถ่ายทอดวัฒนธรรม
การเกื้อกูล
ชุมชนวัดแขวงกัลยาณ์
จารีตประเพณี
ความเชื่อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาลักษณะการเกื้อกูลกันในชุมชนอีกทั้งศึกษารูปแบบการถ่ายทอดวัฒนธรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการเกื้อกูลกันในชุมชน รูปแบบวิธีการวิจัย ได้แก่ วิธีแบบผสม (Mixed method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้อาศัยในแขวงวัดกัลยาณ์ จำนวน 1,470 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้ จำนวน 320 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ชั้นที่ 1 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนวัดประยุรวงศาวาส ชุมชนโรงคราม ชุมชนกุฏีจีน ชุมชนบุปผาราม ชุมชนมัสยิดต้นสน ชั้นที่ 2 ผู้นับถือศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม มีมาตรวัด 5 ระดับ (Ratting Scale) มีคุณภาพการวัดรวม (Alpha) = .948 และการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญพิจารณาจากการเป็นผู้นำศาสนาหรือผู้นำชุมชน และใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงสถิติ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) ทำทั้งแบบรวม (Total) และแบบเป็นขั้น (Stepwise) ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า ประการที่ 1 ลักษณะการเกื้อกูลกันในชุมชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.65) จำแนกเป็นรายด้าน คือ ด้านการเสียสละ (ทาน) อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.64) ด้านการสื่อสาร (ปิยะวาจา) อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.63) ด้านการบำเพ็ญประโยชน์ (อัตถจริยา) อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.66) ด้านการปฏิบัติตนต่อสังคม (สมานัตตตา) อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68) ประการที่ 2 รูปแบบการถ่ายทอดวัฒนธรรมภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.66) ทั้งนี้รูปแบบการถ่ายทอด มี 6 ตัวบ่งชี้สำคัญ คือ 1) การเรียนรู้ 2) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไปตามกาลเวลาในชุมชน 3) การสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในชุมชน 4) การสอนให้คนรุ่นหลังรู้ถึงระบบสัญลักษณ์ของชุมชน 5) พฤติกรรมการสังเกต 6) กระบวนการเรียนรู้ที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก ทั้ง 6 รูปแบบเป็นตัวทำนายพยากรณ์สำคัญของลักษณะการเกื้อกูลกันในชุมชน ค่าเบต้า (ß) .232, .193, .134, .168, .179 และ .170 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนาย = 57.3 ประการที่ 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการเกื้อกูลกันในชุมชน พบว่า (1) ผู้ที่มีการศึกษาต่างกันมีการเกื้อกูลกันในชุมชนแตกต่างกัน (2) ผู้ที่มีอาชีพต่างกันมีการเกื้อกูลกันในชุมชนแตกต่างกัน (3) ผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันมีการเกื้อกูลกันในชุมชนแตกต่างกัน และการได้รับการถ่ายทอดต่างกันมีความเกื้อกันในชุมชนแตกต่างกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1692
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก47.47 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ87.96 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ37.5 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ123.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1169.46 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3125.35 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4569.29 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5126.04 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม122.87 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก750.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.