Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1697
Title: คุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผักผลไม้พร้อมดื่ม กรณีศึกษาพื้นที่ เขตธนบุรี
Other Titles: Quality of Ready – to – Drink Fruit and Vegetable Juice : a Case Study of Thonburi Area
Authors: บุษกร, สุทธิประภา
Suttiprapa, Bussakorn
ศศิอาภา, บุญคง
Boonkong, Sasiapa
ข่ายทอง, ชุนหสุวรรณ
Chunhasuwan, Khaithong
Keywords: น้ำผักผลไม้
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
เขตธนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผักผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตธนบุรี และเพื่อศึกษาคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมีและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผักผลไม้พร้อมดื่ม พบว่า ตลาดที่มีการจำหน่ายน้ำผักผลไม้พร้อมดื่ม คือ ตลาดสี่แยกบ้านแขก และตลาดใหม่สำเหร่ ซึ่งจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตธนบุรี จำนวน 600 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา และประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 10,001 – 15,000 บาท โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำผักผลไม้พร้อมดื่ม ผู้บริโภคให้ความสำคัญในด้านรสชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่เลือกซื้อน้ำส้มมากที่สุด (ร้อยละ 21.8) นอกจากนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกดื่มน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดี (ร้อยละ 39.3) บริโภคจำนวน 1 ขวด/กล่อง (ร้อยละ 65.8) ส่วนค่าใช้จ่าย ในการเลือกซื้อน้ำผักผลไม้พร้อมดื่มประมาณ 21 – 30 บาท และผู้บริโภคต้องการให้มีการพัฒนาน้ำผักผลไม้พร้อมดื่มที่มีขายตามท้องตลาดในด้านคุณค่าทางอาหารมากที่สุด (ร้อยละ 36.7) นอกจากนี้คุณภาพของน้ำผักผลไม้พร้อมดื่ม จำนวน 4 ชนิด พบว่า น้ำส้ม น้ำมะตูม น้ำว่านใบเตย และน้ำกระเจี๊ยบมีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 3.03 – 4.08, 6.79, 7.73 และ 3.19 ตามลำดับ ซึ่งน้ำส้มทั้งตลาดสี่แยกบ้านแขกและตลาดใหม่สำเหร่ มีการตรวจพบสีซันเซ็ตเย็ลโลว์เอ็ฟ ซี เอ็ฟ เท่ากับ 4.12 - 35.16 มก./กก. ตามลำดับ และน้ำว่านใบเตย ตรวจพบสีตาร์ตราซีน และสีบริลเลียนท์บลูเอ็ฟ ซี เอ็ฟ เท่ากับ 4.69 และ 0.83 มก./กก. ตามลำดับ อย่างไรก็ตามน้ำผักผลไม้พร้อมดื่มทั้ง 4 ชนิด ไม่พบวัตถุกันเสีย แต่มีปริมาณโลหะหนักเกินมาตรฐานของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 นอกจากนี้น้ำผักผลไม้พร้อมดื่มทั้ง 4 ชนิด ไม่พบเชื้อรา เชื้ออีโคไล และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ แต่น้ำส้ม น้ำมะตูมและน้ำกระเจี๊ยบบริเวณตลาดใหม่สำเหร่ตรวจพบเชื้อยีสต์และกลุ่มโคลิฟอร์ม
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1697
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก149.56 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ129.98 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ110.31 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ138.05 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1166.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2578.63 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3121.08 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4837.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5135.05 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม170.93 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก200.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.