Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1707
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมานิตย์, กุศลคุ้ม-
dc.contributor.authorGusonkoom, Manit-
dc.date.accessioned2022-02-27T06:13:34Z-
dc.date.available2022-02-27T06:13:34Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1707-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษาระดับความพร้อมต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งมุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มประชากรที่ใช้ ในการศึกษา จำนวน 488 คน ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างประชากร จำนวน 222 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ,ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีดังนี้ ประการที่ 1 ระดับความพร้อมของบุคลากรต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ในภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80) เมื่อพิจารณาประเด็นที่มีความพร้อมมากที่สุด คือด้านความรู้สึกต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีความพร้อม อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91) รองลงมาคือด้านความตั้งใจต่อการใช้ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87) และลำดับที่มีความพร้อมน้อยที่สุด คือด้านการรับรู้ต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีความพร้อม อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65) ประการที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ในภาพรวมปัญหาต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับปัญหามาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51) เมื่อพิจารณาประเด็นที่พบปัญหามากที่สุดคือ (1) การจัดการหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ผู้ใช้งาน ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากขาดทักษะ และช่องทางในการฝึกอบรม (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82) รองลงมาคือ การสร้างเอกสาร หนังสือ บันทึกข้อความ ภายใน-ภายนอกผู้ใช้งานยังขาดทักษะในการใช้งานหรือการฝึกอบรม (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67) และลำดับที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือการเข้าใช้งาน รหัสผู้ใช้ รหัสผ่านไม่สามารถเข้าใช้งานในครั้งเดียว (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35) ในด้านอุปสรรค พบว่า ในภาพรวมอุปสรรคต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30) เมื่อพิจารณาประเด็นที่พบอุปสรรคมากที่สุดคือ การดาวน์โหลดเอกสารและไฟล์ข้อมูล มีความล่าช้าเนื่องจากความเร็วของคอมพิวเตอร์ (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82) รองลงมาคือ การแสดงผลข้อมูลจากเอกสารต่างๆ มีความล่าช้าเนื่องจากความเร็วของระบบคอมพิวเตอร์ (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60) และลำดับที่มีอุปสรรคน้อยที่สุด คือ การตรวจสอบ การลงนามเอกสารมีความซับซ้อน (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67) ประการที่ 3 ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า (1) ควรมีการจัดหมวดหมู่ของรายการใช้งานได้อย่าชัดเจน ไม่ซับซ้อน(2) เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การโหลดข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้นในการแสดงผลข้อมูล (3) มีระบบความปลอดภัยของข้อมูลภายในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์(4)พัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย ให้มีความเร็วมากขึ้นเพื่อความต่อเนื่องของการใช้งาน และ (5) การส่งเสริมให้บุคลากรทุกท่านเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (คิดเป็นร้อยละ 100)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.en_US
dc.subjectระบบสารบรรณen_US
dc.subjectบุคลากรen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการศึกษาความพร้อมต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Study of the Readiness of Electronic Document (E-Document) System Usage by DRU Staffsen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก99.9 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ288.64 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ99.27 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ203.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1386.4 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.96 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3306.98 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4503.24 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5335.16 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม184.05 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก687.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.