Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1709
Title: การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Communicative English Skills Development for Local People In Samutprakan province
Authors: สันธนี, แผนดี
Phandee, Santhanee
Keywords: การสื่อสาร
ภาษาอังกฤษ
ทักษะภาษาอังกฤษ
ชุมชนท้องถิ่น
สมุทรปราการ
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความต้องการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของประชาชนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ (2) พัฒนาบทเรียนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามความต้องการ ของประชาชนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ (3) ประเมินผลสัมฤทธิ์กิจกรรมการเรียนรู้ตามชุดบทเรียนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของประชาชนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้วิธีประกาศประชาสัมพันธ์เชิญเข้าร่วม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบสำรวจความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนตามชุดบทเรียนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (3) บทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา (Descriptive) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จำนวน (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.13) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับแรก คือ การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 4.50) รองลงมาคือ การพูดให้คำแนะนำในสถานการณ์ต่างๆ (ค่าเฉลี่ย = 4.35) ลำดับที่ 3 การขออนุญาต กฎระเบียบต่าง ๆ การอ่านป้ายต่าง ๆ การอ่านป้ายจราจร การอ่านโฆษณา (ค่าเฉลี่ย = 4.25) ลำดับที่ 4 คือ ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาหารไทย การพูดคุยบทสนทนาในร้านอาหาร การสั่งอาหาร (ค่าเฉลี่ย = 4.20) ลำดับที่ 5 คือ การชวนและการนัดหมาย (ค่าเฉลี่ย= 4.15) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อตั๋วเครื่องบิน (ค่าเฉลี่ย= 3.90) ตามลำดับ คุณภาพบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า (1) หน่วยที่ 1 คุณภาพ ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับ ใช้ได้ (IOC= 0.725) และ คุณภาพความค่าความเชื่อมั่น ( ) = .836 (2) หน่วยที่ 2 คุณภาพค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับ ต้องมีการปรับแก้ (IOC= 0.441) และ คุณภาพความค่าความเชื่อมั่น ( ) = .897 (3) หน่วยที่ 3 คุณภาพค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับ ใช้ได้ (IOC=0.668) และ คุณภาพความค่าความเชื่อมั่น ( ) = .971 (4) หน่วยที่ 4 คุณภาพค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับ ใช้ได้ (IOC=0.835) และคุณภาพความค่าความเชื่อมั่น ( ) = .992 (5) หน่วยที่ 5 คุณภาพรวมค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับ ใช้ได้ (IOC=0.666) และคุณภาพความค่าความเชื่อมั่น ( ) = .972 สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า กลุ่มก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย = 14.42 และกลุ่มหลังเรียนค่าเฉลี่ย = 30.80 ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1709
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก45.42 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ77.12 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ41.48 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ74.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1105.3 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2455.59 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3101.14 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4367.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 586.41 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม61.67 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.