Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1718
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิระพงค์, เรืองกุน-
dc.contributor.authorRuanggoon, Jirapong-
dc.date.accessioned2022-03-21T04:22:08Z-
dc.date.available2022-03-21T04:22:08Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1718-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพความรักความใคร่ในที่ทำงานขององค์การธุรกิจในประเทศไทย ศึกษาที่มา ผลกระทบ และการจัดการความรักความใคร่ในที่ทำงานขององค์การธุรกิจในประเทศไทย และนำเสนอตัวแบบการจัดการความรักความใคร่ในที่ทำงานสำหรับการเพิ่มพูนผลการปฏิบัติงานขององค์การ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีการ โดยได้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 221 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และได้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทที่มีประสบการณ์ในการจัดการความรักความใคร่ในที่ทำงาน และ 2) พนักงานผู้ที่มีประสบการณ์ความรักความใคร่ในที่ทำงาน รวม 24 คน ประกอบกับการวิจัยเอกสารเพิ่มเติม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความรักความใคร่ในที่ทำงานเป็นเรื่องที่พบได้โดยทั่วไปในองค์การธุรกิจในประเทศไทย เป็นความรักความใคร่แนวราบมากที่สุด มักเกิดขึ้นระหว่างพนักงานต่างแผนก องค์การธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่มีข้อห้ามพนักงานในเรื่องความรักความใคร่ในที่ทำงาน แต่บางองค์การมีการออกนโยบายเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของความรักความใคร่ในที่ทำงานไว้อย่างเข้มงวด ที่มาของความรักความใคร่ในที่ทำงาน ได้แก่ ความใกล้ชิด ทัศนคติที่ใกล้เคียงและที่แตกต่างกันแต่เข้ากันได้ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของงาน โดยมีแรงจูงใจที่นอกเหนือจากความรัก ได้แก่ พฤติกรรมทางเพศ เงิน และความก้าวหน้าในงาน ผลกระทบเชิงบวกของความรักความใคร่ในที่ทำงาน ได้แก่ การเกิดความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างคู่รัก การเพิ่มความสุขและแรงจูงใจในการทำงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายใน การเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และการเพิ่มความผูกพันและการมีส่วนร่วมในงาน ผลกระทบเชิงลบของความรักความใคร่ในที่ทำงาน ได้แก่ การมีผลการปฏิบัติงานที่ลดต่ำลง การกระทำผิดศีลธรรม การเกิดพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรม และการสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถสูง การจัดการเมื่อมีความรักความใคร่เกิดขึ้นนั้นองค์การมีจัดการไปตามแต่ละกรณี การป้องกันความเสี่ยงของความรักความใคร่ในที่ทำงาน การดำเนินการเพื่อสนับสนุนความรักความใคร่ในที่ทำงาน และการฝึกอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับความรักความใคร่ในที่ทำงาน ตัวแบบการจัดการความรักความใคร่ในที่ทำงานขององค์การธุรกิจในประเทศไทย ได้แก่ 1) การจัดการที่มุ่งเน้นการควบคุม เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของความรักความใคร่ในที่ทำงาน และ 2) การจัดการที่มุ่งเน้นความผูกพัน ใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากความรักความใคร่ในที่ทำงานen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.en_US
dc.subjectความรักen_US
dc.subjectความผูกพันen_US
dc.subjectประเทศไทยen_US
dc.subjectความรักในองค์กรen_US
dc.subjectการทำงานเป็นทีมen_US
dc.subjectศีลธรรมen_US
dc.subjectความรักความใคร่en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการจัดการความรักความใคร่ในที่ทำงานขององค์การธุรกิจในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeManaging workplace romance in private organization in Thailanden_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก73.37 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ138.83 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ88.41 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ130.53 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1202.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2467.33 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3373.32 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.42 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5457.29 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม239.88 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก247.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.