Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1719
Title: การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Other Titles: Competitive Advantage of entrepreneurs in Samutprakan Province to ASEAN Economic Community
Authors: วสุธิดา, นักเกษม
Nakkasem, Wasutida
Keywords: การแข่งขัน
ผู้ประกอบการ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียน
สมุทรปราการ
วิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ธุรกิจบริการ
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) ศึกษารูปแบบความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ 3) ศึกษาการขยายตัวของธุรกิจต่างๆในจังหวัดสมุทรปราการ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจบริการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์บริหารธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ นิคมอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสอบถามการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) แนวทางการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิพากษ์รูปแบบความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาการขยายตัวของธุรกิจต่างๆในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 3 ปัจจัยตามลำดับ คือ ด้านการสร้างความแตกต่าง ด้านต้นทุน และด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยมีรูปแบบของความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนี้ 1. ด้านกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ผู้ประกอบการควรสร้างความประทับใจให้กับผู้รับบริการ มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้รับบริการ และมีการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว 2. ด้านกลยุทธ์ต้นทุน ผู้ประกอบการควรเน้นด้านคุณภาพสินค้า/บริการให้มีความเหมาะสมกับราคา ควรสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดต้นทุนในด้านต่างๆ มีการควบคุมต้นทุนในทุกๆด้าน 3. ด้านกลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการควรพัฒนาความพร้อมของบุคลากรในการปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ/เว็บไซต์มาช่วยในการประชาสัมพันธ์ มีช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ข้อมูลและใช้ในการติดต่อสื่อสาร รูปแบบการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ควรเพิ่มเติมด้านกลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมบริการที่ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า การขยายตัวของธุรกิจในจังหวัดสมุทรปราการ จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ธุรกิจที่จะขยายตัวเป็นอันดับแรกคือ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เหตุผลเพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่หลากหลาย และผลมาจากการเดินทางที่สะดวก รองลงมาคือธุรกิจด้านโลจิสติกส์ เมื่อธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะส่งผลต่อการขยายตัวของธุรกิจ รวมถึงการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ผู้ประกอบการมองว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีคู่แข่งขันทางการค้าเพิ่มขึ้นหรือการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีก็ตาม ดังนั้นทุกภาคส่วนธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการ ควรจะสร้างกลยุทธ์ที่แตกต่างและมองหาโอกาสที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการแข่งขัน อีกทั้งควรพัฒนาความรู้เท่าทัน การสร้างความเข้าใจและการรับรู้ต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1719
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก58.79 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ135.31 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ62.46 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ113.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1174.78 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2577.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3212.84 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4362.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5398.3 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม85.88 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก894.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.