Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมพร, แก้วมณี-
dc.contributor.authorKaewmanee, Somporn-
dc.date.accessioned2017-07-27T08:24:11Z-
dc.date.available2017-07-27T08:24:11Z-
dc.date.issued2014-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/171-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู 2) เปรียบเทียบความพร้อมโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 519 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน ทักษะ/ กระบวนการ และเจตคติ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบทีและความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานครตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโดยภาพรวมและรายด้านมีความพร้อม อยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเจตคติ รองมาคือด้านทักษะ/กระบวนการ และ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน 2) เปรียบเทียบความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูทั้งในภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ด้านทักษะ/กระบวนการและด้านเจตคติ ส่วนความพร้อมของขนาดของโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร พบว่า โรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความพร้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบเป็นรายคู่ พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดกลาง มีความพร้อมไม่แตกต่างกัน นอกนั้นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectการศึกษา - ประชาคมอาเซียนen_US
dc.subjectการเตรียมพร้อมen_US
dc.subjectประชาคมอาเซียนen_US
dc.titleความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe Readiness of Secondary Schools under Secondary Education Office Area 1 Approaching ASEAN Communityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก114.28 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ66.29 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ96.75 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ78.93 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ100.6 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1165.1 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2690.43 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3174 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4364.27 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5187.37 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม127.34 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก608.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.