Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1727
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปรีชา, เครือโสม-
dc.contributor.authorKhrueasom, Preecha-
dc.contributor.authorเฉลิมชัย, ภูริพัฒน์-
dc.contributor.authorPuripat, Chalermchai-
dc.contributor.authorพิณรัตน์, นุชโพธิ์-
dc.contributor.authorNuchpho, Pinnarat-
dc.date.accessioned2022-03-29T04:14:50Z-
dc.date.available2022-03-29T04:14:50Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1727-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาตัวแบบระบบเกรย์สำหรับการพยากรณ์ไข้เลือดออก 2) เพื่อพยากรณ์ไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2561-2565 3) เพื่อทดสอบความแม่นยำของวิธีการพยากรณ์ 4) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในการวางแผนบริการจัดการ การแก้ไขปัญหา ทางด้านสารธารณะสุขที่เกี่ยวข้องกับไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตของโรคไข้เลือดออก ในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยใช้เครื่องมือคือเทคนิควิธีการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบข้อมูลด้วยทฤษฎีเกรย์ (Grey Theory) ในระบบชอง GM (1, 1) ผลการวิจัยพบว่า ประการที่ 1 วิธีการของทฤษฎีเกรย์ (Grey Theory) ในระบบของ GM (1, 1) มีความ เหมาะสมในการนำมาใช้ในการพยากรณ์ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตของโรคไข้เลือดออก ในเขตกรุงเทพมหานคร ประการที่ 2 ผลการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกวิธีการของทฤษฎีเกรย์ (Grey Theory) ในระบบของ GM (1, 1) มีการพยากรณ์เป็นร้อยละ 80.36 เมื่อเทียบกับรายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก 2561 กรมควบคุมโรค ประการที่ 3 การตรวจสอบความแม่นยำของตัวแบบ คือการวัดความคลาดเคลื่อนของค่าจริงและค่าที่พยากรณ์ได้โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ต่างๆ หรือจำนวนข้อมูลต่างๆ จะพิจารณาจากการที่ค่าจริงใกล้เคียงค่าพยากรณ์ที่สุด หรือทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดย่อมเป็นค่าที่เหมาะสมกับการใช้พยากรณ์ให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ การตรวจสอบความแม่นยำของตัวแบบ ในภาพรวมของการทดลองด้วยวิธีการของทฤษฎีเกรย์ (Grey Theory) ในระบบของ GM (1, 1) มีความแม่นยำของตัวแบบที่ดีเพราะให้ค่าสถิติ MAPE ที่น้อยกว่า เมื่อเบรียบเทียบกับวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time Series Analysis) ประการที่ 4 แนวคิดการนำผลการพยากรณ์ของโรคไข้เลือดออกไปใช้ในการตัดสินใจ เพื่อให้สามาถนำตัวแบบระบบเกรย์ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผน ป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ทำให้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการ งานวิจัยนี้อาศัยข้อมูลที่มีอยู่ในอดีตที่ผ่านมาพยากรณ์อนาคตโดยดูแนวโน้มหรือความน่าจะเป็นของการระบาดของโรคen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.en_US
dc.subjectโรคไข้เลือดออกen_US
dc.subjectการพยากรณ์en_US
dc.subjectระบบเกรย์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleตัวแบบระบบเกรย์สำหรับการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกen_US
dc.title.alternativeThe Grey System Model for Forecasting Dengue feveren_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก250.84 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ329.66 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ236.27 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ387.94 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1407.05 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.71 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3322.41 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.22 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5406.87 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม318.8 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.