Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1729
Title: “บทบาทตัวละครในละครโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลียนแบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ”
Authors: พรเทพ, เจริญกิจ
Keywords: ละครโทรทัศน์
พฤติกรรมการเลียนแบบ
ตัวละคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
สมุทรปราการ
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากร พฤติกรรมการเปิดรับชมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการในการรับชมละครโทรทัศน์ และศึกษาการเลียนแบบด้านพฤติกรรมจากบทบาทตัวละครในละครโทรทัศน์ โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t test) ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance หรือ ANOVA) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยการเปรียบเทียบพหุคูณ ใช้การทดสอบแบบ LSD โดยความหมายของการทดสอบสมมติฐานเมื่อค่า Significance (Sig.) น้อยกว่า 0.05 หมายความว่า ตัวแปรนั้นมีผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานการวิจัย แต่ถ้าค่า Significance (Sig.) ที่ได้มีค่ามากกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หมายความว่า ตัวแปรอิสระไม่มีผลต่อตัวแปรตามเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการเปิดรับชมสื่อละครโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการส่วนใหญ่รับชมสื่อละครโทรทัศน์ผ่านแอพลิเคชันโทรศัพท์มือถือมากกว่ารับชมผ่านโทรทัศน์ แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารหลักที่วัยรุ่นส่วนใหญ่มีใช้ นอกเหนือจากการโทรศัพท์พูดคุยกันแล้วยังใช้รับชมละครโทรทัศน์ได้ด้วย ส่วนใหญ่นักศึกษาใช้ระยะเวลาในการรับชมสื่อละครโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง – 1 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนใหญ่มีเหตุผลที่รับชมสื่อละครโทรทัศน์เพื่อนำประเด็นจากละครไปสนทนาต่อ มากที่สุด แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นชอบพูดคุยกับเพื่อนๆ ในเรื่องของประเด็นละคร ส่วนใหญ่มีปัจจัยในการเลือกชมสื่อละครโทรทัศน์ที่เนื้อหาละคร / บทละครโทรทัศน์ มากที่สุด ไม่สอดคล้องกับสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ที่สำรวจพฤติกรรมเลียนแบบคนดังและคนที่ตนชื่นชอบของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมเลียนแบบตัวละครหรือนักแสดงมาเป็นอันดับ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการส่วนใหญ่มีบทบาทการแสดงของตัวละครที่ชื่นชอบ คือ การแต่งกาย การแต่งหน้าของตัวละคร ในภาพรวมของผลการเลียนแบบพฤติกรรมจากการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ พบว่า นักศึกษาเลียนแบบพฤติกรรมการแต่งหน้า ทำผมตามนักแสดง มีการออกกำลังเพื่อให้หุ่นดีแบบนักแสดง และชอบพูดจาด้วยคำคมสอนใจ แสดงให้เห็นว่านักศึกษาเลียนแบบพฤติกรรมเกี่ยวกับภาพลักษณ์และการสร้างบุคลิกภาพที่ดี จากนั้นมีการพูดจาด้วยคำคมสอนใจ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของอุริษา งามวุฒิวร (2553) ศึกษาเรื่อง การเปิดรับสื่อละครโทรทัศน์ การรู้เท่าทันสื่อ และความคิดเห็นต่อความนิยมทางเพศ และการเลียนแบบพฤติกรรมชายรักชายของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีผลว่าเยาวชนในปัจจุบันมักให้คุณค่ากับความนิยมทางเพศ โดยการยอมรับ และเปิดเผยตนเองมากขึ้นอยู่ในระดับสูง โดยเปิดเผยผ่านบุคลิกลักษณะ ความคิดเห็นต่อการเลียนแบบอยู่ในระดับปานกลาง โดยจะเลียนแบบทรงผม และการแต่งกายจากนักแสดงชายในละครโทรทัศน์ หรือนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มวัยรุ่นนั้น มีการแสดงออกทางบุคลิกภาพเพื่อให้สังคมยอมรับในตัวเอง และยังคงมองรูปลักษณ์ความสวย ความงามเพื่อดึงดูดเพศตรงข้ามด้วย และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1.ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อการเลียนแบบด้านพฤติกรรมจากบทบาทการแสดงของตัวละครแตกต่างกัน 2.พฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์แตกต่างกัน จะมีผลต่อการเลียนแบบด้านพฤติกรรมจากบทบาทการแสดงของตัวละครแตกต่างกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1729
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก139.62 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ100.71 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ94.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1 .pdfบทที่ 1185.87 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2454.75 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3217.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4439.83 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5232.34 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม115.73 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก187.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.