Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1745
Title: ภูมิปัญญา ภูมิสารสนเทศและการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า
Other Titles: Local Wisdom, Geoinformation, and Management to Promote Tourism on the Original Course of the Chao Phraya River
Authors: อารยา, เกียรติก้อง
Giatgong, Araya
นงเยาว์, อุทุมพร
Utoomporn, Nongyao
จิระพงค์, เรืองกุน
Ruanggoon, Jirapong
ธุวพล, คงน้อย
Kongnoi, Thuwapol
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิสารสนเทศ
การท่องเที่ยว
แม่น้ำเจ้าพระยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การรวบรวม ภูมิปัญญาท้องถิ่น บริเวณชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า 2) การจัดทำฐานข้อมูลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า 3) การศึกษาผู้นำกลุ่มท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า และ 4) การศึกษาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวแม่น้าเจ้าพระยาสายเก่า เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล/กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มผู้นำชุมชน ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 61ปีขึ้นไปมากที่สุดจบการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา สาขาที่มีภูมิปัญญามากที่สุดคือ สาขางานประดิษฐ์ ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การเรียนรู้จากครูอาจารย์และการรับการฝึกอบรม สำหรับกรรมวิธีในการผลิตก็จะไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) การจัดทำ ฐานข้อมูลและสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่า แหล่งท่องเที่ยวบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อยมากที่สุดจำนวน 14 แหล่ง รองลงมาที่ตั้งอยู่ในเขตธนบุรีมีจำนวน 11 แหล่ง เขตภาษีเจริญมีจำนวน 8 แหล่ง เขตบางกอกใหญ่มีจำนวน 5 แหล่ง และเขตตลิ่งชันมีจำนวน 3 แหล่งตามลำดับ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นวัดพบมากที่สุดจำนวน 22 แหล่ง และฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมด 41 แหล่งเมื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลได้เป็นแผนที่แหล่งท่องเที่ยวเส้นทางเจ้าพระยาสายเก่า 3) สมรรถนะผู้นำกลุ่มท่องเที่ยวที่พึงประสงค์ ได้แก่ การมีแรงขับในการพัฒนาชุมชน ความไว้วางใจ การมีวิสัยทัศน์ ความสามารถทางการบริหาร ทักษะการสื่อสาร ความสามารถทางการตลาด และความสามารถในการสร้างเครือข่าย 4) การตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าพบว่า จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อออกแบบเว็บไซต์ต้นแบบที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ภูมิปัญญาและเส้นทางท่องเที่ยวทั้งทางบก (เส้นทางจักรยาน) และทางน้ำ (เส้นทางเรือ) ที่อยู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า โดยโครงสร้างต้นแบบเว็บไซต์ประกอบด้วย เมนูประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ภูมิปัญญา กิจกรรม และผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า โดยรวมด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ด้านสื่ออยู่ในระดับปานกลาง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1745
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก69.07 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ109.92 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ139.64 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1167.02 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3200.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.57 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5258.36 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม233.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.