Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1746
Title: การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร
Other Titles: Development of Functional Beverage from Banana Mixed with Herbal
Authors: จันวิภา, สุปะกิ่ง
Supaking, Janwipa
Keywords: กล้วยน้ำว้า
สมุนไพร
เครื่องดื่ม
สุขภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยและมีการนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยชน์ตั้งแต่อดีต โดยนิยมนำมาบริโภคทั้งผลสดและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ กล้วยน้ำว้าเมื่อสุกจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร ให้มีสีสันสวยงามและมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น จากการศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร พบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าที่มีอัตราส่วนระหว่างเนื้อกล้วยน้ำว้าต่อน้ำเท่ากับ 1:4 โดยน้ำหนัก และที่ระดับความหวาน เท่ากับ 12ºBrix และผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร ได้แก่ ใบเตยหอม แก่นฝาง ดอกกระเจี๊ยบ และดอกอัญชัน และสูตรต้นแบบ ในด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมไม่แตกต่างกัน (p>0.05) โดยคะแนนความชอบด้านสี กลิ่นรสและรสชาติ พบว่า เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้าผสมกระเจี๊ยบมีคะแนนสูงที่สุด ผลการศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร ทั้ง 5 สี พบว่า ค่า pH ของเครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าสูตรต้นแบบ สูตรผสมเตยหอม สูตรผสมฝาง และสูตรผสมอัญชันมีค่าใกล้เคียงกัน โดยเครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้าผสมกระเจี๊ยบมีค่าต่ำที่สุด สอดคล้องกับปริมาณกรดทั้งหมด ส่วนปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (mg GAE/100 g) และสมบัติการยับยั้ง DPPH radical (mg ascorbic acid/L) พบว่า เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้าผสมกระเจี๊ยบมีค่าสูงที่สุด การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางจุลินทรีย์ระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพรทั้ง 5 สี ที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในขวดแก้ว อุณหภูมิ 4ºC เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร ทั้ง 5 สี ยังคงมีคุณภาพทางจุลินทรีย์ เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนด และผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร ให้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประสานมิตร เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร และผู้สนใจทั่วไป พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1746
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก104.3 kBAdobe PDFView/Open
Abstract .pdfบทคัดย่อ96.9 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ89.46 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ162.92 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1170.67 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2986.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3259.34 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4629.64 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5228.55 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม256.57 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก693.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.